เมนู

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็น
พื้นที่ซึ่งเหมาะสมแก่การรีบเร่งในการประกอบความเพียรแก่ภิกษุนั้น จึง
ได้ตรัสไว้ว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้ เป็นต้น.
ต่อแต่นี้ไป คำใดที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าว (อธิบาย) ในอานา-
ปานบรรพ
นี้ก่อน คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว.

เจริญอานาปานสติ


ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ศึกษาอยู่ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออกเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ
สำเหนียกว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว ฌาน
ทั้ง 4 จะเกิดขึ้นในเพราะนิมิต คือ อัสสาสะ และ ปัสสาสะ.
เธอออกจากฌานแล้ว กำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือ
กำหนดองค์ฌาน, ในจำนวนอัสสาสะ ปัสสาสะ และองค์ฌานทั้ง 2
อย่างนั้น. (ถ้า) เป็นผู้กำหนดอัสสาสะปัสสาสะเป็นอารมณ์ ก็กำหนดรูป
อย่างนี้ว่า อัสสาสะปัสสาสะอาศัยอยู่กับอะไร ? อาลัยอยู่กับวัตถุ
กรชกาย
ชื่อว่า วัตลุ. มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป (24) ชื่อว่า
กรชกาย.
ต่อมา กำหนดนามรูปอย่างนี้ว่า นามมีอยู่ ในอารมณ์นั้น มี
ผัสสะเป็นที่ 5 เมื่อแสวงหาปัจจัยของนานรูปนั้นจะเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีอวิชชาเป็นต้น ข้ามสงสัยได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์ หรือบุคคล อื่นต่างหาก (จากอัสสาส-

ปัสสาสะนั้น) ยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณะ เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตตามลำดับ.
นี้เป็นช่องทางแห่งการออกไป (จากทุกข์) จนถึงอรหัตของภิกษุ
รูปหนึ่ง.
ส่วนผู้กำหนดฌานเป็นอารมณ์ จะกำหนดนามรูปว่า องค์ฌาน
ทั้งหลายเหล่านี้1 อาศัยอยู่กับอะไร อาศัยอยู่กับวัตถุ กรชกาย ชื่อว่า
วัตถุ องค์ฌานเป็นนาม กรชกายเป็นรูป เมื่อแสวงหาปัจจัยของนามรูป
นั้น จะเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็น
เพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอื่น
ต่างหาก ( จากนามรูปนั้น ) ยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์
เจริญวิปัสสนา บรรลุอรหัตตามลำดับ. นี้เป็นช่องทางแห่งการออกไป
(จากทุกข์) จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
คือลมหายใจออกหายใจเข้าของตนอยู่อย่างนี้หรือ.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือ (พิจารณาเห็นกาย) ในกาย
คือลมหายใจออกหายใจเข้าของคนอื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า ในกายคือลมหายใจออก
หายใจเข้าของคน ( และ ) ของผู้อื่น ตามกาลเวลาอย่างนี้.
ด้วยบทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา นี้ พระองค์ตรัสถึงกาลเวลา
ที่ลมหายใจนั้นออก ๆ เข้า ๆ โดยไม่พักกรรมฐานที่ช่ำชองไว้. แต่
ทั้ง 2 อย่างนี้ จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้.
1. ปาฐะว่า อิทานิ พม่าเป็น อิมานิ แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า
อาศัยทั้งสูบของช่างทองทั้งก้านสูบและความพยายามอันเกิดจากทั้ง 2 อย่าง
นั้น (สูบและก้านสูบ) ลมจึงเดินไปมาได้ฉันใด. กายคืออัสสาสะ
ปัสสาสะ
ของภิกษุก็ฉันนั้น อาศัยกรชกาย โครงจมูก และจิต จึงสัญจร
ไปมาได้. ธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้น เป็นสมุทัย ภิกษุเมื่อพิจารณา
ธรรมเหล่านั้น เรียกว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายอยู่.
บทว่า วยธมฺมานุปสฺสี วา ความว่า เมื่อกายแตกดับ โครง
จมูกโหว่ และเมื่อจิตดับ ขึ้นชื่อว่ากายคืออัสสาสะและปัสสาสะจะสัญจร
ไม่ได้ เหมือนกับเมื่อสูบถูกนำออกไปแล้ว เมื่อก้านสูบหัก และเมื่อ
ไม่มีความพยายามอันเกิดแต่สูบและก้านสูบนั้น ลมนั้นจะไม่เดินฉะนั้น
เพราะฉะนั้น ลมหายใจออกและหายใจเข้าดับไป เพราะกายเป็นต้น
แตกดับไป ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ พระองค์จึงตรัสเรียกว่า
พิจารณาเห็นธรรมคือความดับไปในกายอยู่.
บทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นความเกิด
ตามกาลเวลา ความดับไปตามกาลเวลา.
บทว่า อตฺถิ กาโย วา ปนสฺส ความว่า สติ เป็นอันเธอ
เข้าไปดังไว้อย่างนี้ว่า กายมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. ไม่ใช่หญิง
ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร.
คำว่า ยาวเทว นี้ เป็นคำกำหนดการชี้ขาดประโยชน์. มีคำ
อธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งไว้นั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่น. โดยที่แท้

แล้ว เพียงเพื่อความรู้เท่านั้น คือเพื่อประโยชน์แก่ญาณที่ยิ่งขึ้นไปเป็น
ประมาณต่อ ๆ ไป และเพื่อต้องการสติเป็นประมาณ อธิบายว่า เพื่อ
ต้องการให้สติและสัมปชัญญะเจริญขึ้น.
บทว่า อนิสฺสิโต จ วิหรติ ความว่า เป็นผู้ไม่อาศัย ( อะไร)
ด้วยอำนาจแห่งตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย.
ข้อว่า น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ (และเธอจะไม่ยึดมั่น อะไร
ในโลก) ความว่า เธอจะไม่ยึดถืออะไร คือ รูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
ในโลกว่า นี้เป็นอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเรา.
ปิ อักษร ในคำว่า เอวํปิ ใช้ในความหมายว่า รวมเอาเนื้อความ
ข้างหน้ามาไว้. อนึ่ง ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม
เทศนาว่าด้วยอานาปานบรรพ มอบให้ (สาวกทั้งหลาย) ดังนี้แล.

อริยสัจ 4 ในอานาปานะ


บรรดาสัจจะเหล่านั้น สติที่กำหนด อัสสาสะ และปัสสาสะ
เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีแต่ก่อนที่เป็นสมุฏฐานของสตินั้น เป็นทุกขสมุทัย
ความไม่เป็นไปแห่งสติ และตัณหาทั้ง 2 อย่างนั้น เป็นนิโรธ อริยมรรค
ที่มีการกำหนดรู้ทุกข์ มีการละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
เธอขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว จะบรรลุความดับ
(นิพพาน) ฉะนั้น ข้อนี้จึงเป็นช่องทางแห่งการออกไปจาก (ทุกข์ )
จนถึงอรหัต ของภิกษุผู้ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจอัสสาสะและปัสสาสะ รูป
หนึ่ง.
จบ อานาปานบรรพ