เมนู

กรรมฐาน ณ ที่นี้ ต่อนั้นไป พระโยคี (ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร) บำเพ็ญ
กรรมฐานอยู่ เมื่อได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับแล้ว พระองค์ทรงได้รับ
สักการะอย่างมากมายด้วยคำสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ (จริง ๆ) หนอ เหมือนกับ
อาจารย์ผู้รู้พื้นที่ ดูพื้นที่ที่จะตั้งพระนครแล้ว พิจารณาดูถี่ถ้วนแล้ว
ชี้บอกว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างพระนคร ณ ที่นี้ และเมื่อพระนครสร้าง
สำเร็จโดยสวัสดี (เรียบร้อย) แล้ว จะได้รับพระราชทานสักการะมาก
มายจากราชตระกูลฉะนั้น.

ทรงเปรียบพระเหมือนเสือเหลือง


แต่ภิกษุรูปนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นกับเสือเหลือง. อธิบายว่า
พญาเสือเหลืองใหญ่อาศัยพงหญ้า หรือพงป่า พงเขาในป่า ซุ่มจับหมู่
มฤคมีควายป่า เนื้อสมัน และหมูป่าเป็นต้น (กิน) ฉันใด ภิกษุนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บำเพ็ญพระกรรมฐานบ่อย ๆ ในป่าเป็นต้น จะ
บรรลุอริยมรรค 4 และอริยผล 4 ตามลำดับ. เพราะฉะนั้น พระ
โบราณาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตร บำเพ็ญวิปัสนา ประกอบ
ความเพียรนี้ เข้าไปสู่ป่า แล้วบรรลุอรหัตตผล
เหมือนเสือเหลือง ซุ่มจับเนื้อกินฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็น
พื้นที่ซึ่งเหมาะสมแก่การรีบเร่งในการประกอบความเพียรแก่ภิกษุนั้น จึง
ได้ตรัสไว้ว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้ เป็นต้น.
ต่อแต่นี้ไป คำใดที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าว (อธิบาย) ในอานา-
ปานบรรพ
นี้ก่อน คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว.

เจริญอานาปานสติ


ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ศึกษาอยู่ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออกเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ
สำเหนียกว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว ฌาน
ทั้ง 4 จะเกิดขึ้นในเพราะนิมิต คือ อัสสาสะ และ ปัสสาสะ.
เธอออกจากฌานแล้ว กำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือ
กำหนดองค์ฌาน, ในจำนวนอัสสาสะ ปัสสาสะ และองค์ฌานทั้ง 2
อย่างนั้น. (ถ้า) เป็นผู้กำหนดอัสสาสะปัสสาสะเป็นอารมณ์ ก็กำหนดรูป
อย่างนี้ว่า อัสสาสะปัสสาสะอาศัยอยู่กับอะไร ? อาลัยอยู่กับวัตถุ
กรชกาย
ชื่อว่า วัตลุ. มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป (24) ชื่อว่า
กรชกาย.
ต่อมา กำหนดนามรูปอย่างนี้ว่า นามมีอยู่ ในอารมณ์นั้น มี
ผัสสะเป็นที่ 5 เมื่อแสวงหาปัจจัยของนานรูปนั้นจะเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีอวิชชาเป็นต้น ข้ามสงสัยได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์ หรือบุคคล อื่นต่างหาก (จากอัสสาส-