เมนู

เสนาสนะนั้นเป็นเสนาสนะเหมาะสมที่จะบำเพ็ญ (กรรมฐาน)
สำหรับเธอ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้
ตรัสไว้ว่า อรญฺญคโต วา ฯเปฯ สุญฺญาคารคโต วา นี้บ่งชัดถึง
การกำหนดเสนาสนะที่เหมาะสมกับการบำเพ็ญสติปัฏฐาน.

เสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน


ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระโยคาวจรยังสละเสนาสนะท้ายบ้าน
ที่อึกทึกด้วยเสียงสตรี เสียงบุรุษ เสียงช้าง และเสียงม้า เป็นต้น
ไม่ได้ จะยังอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นยอดแห่งกายานุปัสสนา
เป็นเหตุใกล้เคียงแห่งการบรรลุคุณพิเศษและทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทุก ๆ พระองค์
นี้
ให้สมบูรณ์ ไม่ใช่ของที่จะทำได้ง่าย เพราะฌานมีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม
(อุปสรรค). แต่ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน การกำหนดเอาพระกรรมฐานนี้
แล้วยังฌานที่ 4 มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ ทำฌานนั่นเองให้เป็น
เบื้องบาท (ของวิปัสสนา) พิจารณาสังขารแล้วได้บรรลุพระอรหัต
อันเป็นผลชั้นยอด เป็นสิ่งที่พระโยคาวจรทำได้ง่าย ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น
จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้เป็นต้น.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นเหมือนอาจารย์ผู้รู้พื้นที่
(นักดูที่ หรือนักธรณีวิทยา). พระองค์ ครั้นทรงใคร่ครวญเห็นเสนาสนะ
ที่สมควรแก่พระโยคาวจรอย่างนี้แล้ว จึงทรงชี้ว่า ควรบำเพ็ญพระ