เมนู

อุปมาจิตเหมือนลูกวัว


เพราะว่า จิตของภิกษุนี้ ที่ซ่านไปในรูปารมณ์ เป็นต้น มานาน
แล้ว ไม่ประสงค์จะเข้าร่องรอยกรรมฐานได้ วิ่งออกนอกทางถ่ายเดียว
เหมือนรถที่เทียมด้วยวัวพยศก็ปานกัน เพราะฉะนั้น จึงอุปมาเสมือน
หนึ่งว่า คนเลี้ยงวัว (เจ้าของ) เมื่อประสงค์จะฝึกลูกวัวพยศ ที่ดื่มนม
ทุกหยดจากแม่วัวพยศ เติบโตขึ้นมา ต้องพราก (มัน) ออกจากแม่
ดอกหลักใหญ่หลักหนึ่งไว้ในที่เหมาะสม แล้วเอาเชือกผูก (มัน) ไว้ที่
หลักนั้น. ครั้นลูกวัวของเขาตัวนั้น ทะยานไปทางโน้นทางนี้ ก็ไม่อาจ
หนีไปได้ จะต้องยืนชิด หรือนอนชิดหลักนั้นเองฉันใด. ภิกษุรูปนี้เอง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตร้ายของตน ที่เจริญขึ้นจากการ
ดื่มรสรูปารมณ์เป็นต้นมานานแล้ว ต้องพราก (มัน ) จากรูปารมณ์
เป็นต้น เข้าไปสู่ป่า หรือรุกขมูล หรือเรือนร้าง เอาเชือกคือสติผูกมัน
ไว้ที่หลัก คืออารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น. จิตของเธอนั้นถึงจะดิ้นรนไป
ทางโน้นทางนี้อย่างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชินมาก่อน ไม่อาจจะทำลาย
เชือกคือสติ (ให้ขาด ) แล้วหนีไป ก็จะซบเซา และเงื่องหงอย อยู่
กะอารมณ์นั่นเอง ด้วยอุปจารสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์
จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
พระโยคาวจร (ผู้บำเพ็ญเพียร) ต้องเอาสติผูกจิต
ของตนไว้ที่อารมณ์ (กรรมฐาน) ให้มั่น เหมือน
กับคนในโลกนี้ เมื่อจะฝึกวัว1 ต้องผูกวัวที่จะต้องฝึก
ไว้ที่หลักฉะนั้น.

1. ปาฐะว่า ทมฺมํ แต่ฉบับพม่าเป็น ทมํ แปลตามฉบับพม่า.

เสนาสนะนั้นเป็นเสนาสนะเหมาะสมที่จะบำเพ็ญ (กรรมฐาน)
สำหรับเธอ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้
ตรัสไว้ว่า อรญฺญคโต วา ฯเปฯ สุญฺญาคารคโต วา นี้บ่งชัดถึง
การกำหนดเสนาสนะที่เหมาะสมกับการบำเพ็ญสติปัฏฐาน.

เสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน


ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระโยคาวจรยังสละเสนาสนะท้ายบ้าน
ที่อึกทึกด้วยเสียงสตรี เสียงบุรุษ เสียงช้าง และเสียงม้า เป็นต้น
ไม่ได้ จะยังอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นยอดแห่งกายานุปัสสนา
เป็นเหตุใกล้เคียงแห่งการบรรลุคุณพิเศษและทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทุก ๆ พระองค์
นี้
ให้สมบูรณ์ ไม่ใช่ของที่จะทำได้ง่าย เพราะฌานมีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม
(อุปสรรค). แต่ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน การกำหนดเอาพระกรรมฐานนี้
แล้วยังฌานที่ 4 มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ ทำฌานนั่นเองให้เป็น
เบื้องบาท (ของวิปัสสนา) พิจารณาสังขารแล้วได้บรรลุพระอรหัต
อันเป็นผลชั้นยอด เป็นสิ่งที่พระโยคาวจรทำได้ง่าย ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น
จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้เป็นต้น.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นเหมือนอาจารย์ผู้รู้พื้นที่
(นักดูที่ หรือนักธรณีวิทยา). พระองค์ ครั้นทรงใคร่ครวญเห็นเสนาสนะ
ที่สมควรแก่พระโยคาวจรอย่างนี้แล้ว จึงทรงชี้ว่า ควรบำเพ็ญพระ