เมนู

ซูบซีดแล้ว เหี่ยวแห้งแล้ว ทำให้เสื่อมสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า ขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก คือกายได้ เนื้อความของ
บทเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วอย่างที่พรรณนามานี้ นักศึกษาพึงทราบ
นัยแห่งอรรถกถานี้ พร้อมด้วยเนื้อความนั้นโดยการเทียบเคียงกันเถิด
นี้เป็นกถาพรรณนาความแห่งอุเทศแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก่อน.

อธิบายเวทนานุปัสสนา


บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบประโยชน์ ในการกล่าวซ้ำ เวทนาเป็นต้น
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ (ซึ่งมีรวมอยู่ใน
คำนี้ว่า เวทนาสุ . . .จิตฺเต. . . ธมฺเมสุ. . . ธมมานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
โดยนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในกายา-
นุปัสสนา.

ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี
ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี
นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่เวทนา 3 และ
เวทนานั้น เป็นโลกิยะอย่างเดียว ถึงแม้จิตก็เหมือนกัน เป็นโลกิยะ.
ธรรม
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ( เป็นโลกิยะ ). การจำแนกเวทนาเป็นต้น
เหล่านั้น จักปรากฏในนิเทศวาร. แต่ในที่นี้ พึงทราบการจำแนก
เวทนาล้วน ๆ ไว้ว่า เวทนาต้องพิจารณาเห็นอย่างใด พระโยคาวจร
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้น ก็ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา. ใน
จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ก็เวทนาควรพิจารณาเห็นอย่างไร ?
ตอบว่า ก่อนอื่น สุขเวทนาควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นทุกข์

ทุกขเวทนาควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นเสมือนลูกศร อทุกขมสุข เวทนา
(เวทนาไม่ทุกข์ ไม่สุข ) ควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง. ดัง
ที่ตรัสไว้ว่า :-
ภิกษุรูปใดได้เห็นควานสุขโดยเป็นความทุกข์ ได้เห็น
ความทุกข์โดยเป็นลูกศร ได้เห็นความไม่ทุกข์ไม่สุข
ที่มีอยู่ โดยเป็นสิ่งไม่เที่ยง แน่นอนแล้ว ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้เห็นชอบ จักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป.

ก็เวทนาหมดทุกอย่างนี้ ควรพิจารณาให้เห็นว่าเป็นทุกข์. สมจริง
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เสวยแล้ว เรา
ตถาคตกล่าวสิ่งนั้นทั้งหมดว่า (รวมลงใน ) ทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง สุขเวทนา ก็ควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นทุกข์.
ดังที่ตรัสไว้ว่า เวทนานี้เป็นสุข ความสุขที่ดำรงอยู่ เป็นวิปริณามทุกข์
เพราะฉะนั้น ควรขยายให้พิสดารทุกข้อ.
อีกอย่างหนึ่ง เวทนาก็ควรพิจารณาให้เห็น แม้โดยอนุปัสสนา
ทั้ง 7 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. คำที่เหลือ จักมีปรากฏในนิเทศวาร
นั้นแหละ.
แม้บรรดาจิต และธรรม จิตก็ควรพิจารณาให้เห็น โดยการแยก
ออกไปเป็นจิตมีราคะเป็นต้น ที่มาแล้ว ในนิเทศวารแห่งอนิจจานุ-
ปัสสนา
เป็นต้น ที่จำแนกออกเป็นต่าง ๆ กัน มีอารมณ์ อธิบดี สห-
ชาตธรรม ภูมิ กรรม วิบาก
และกิริยา เป็นต้น. (ธรรม) ก็ควร
พิจารณาให้เห็นโดยลักษณะของตน และลักษณะที่เสมอกัน ของธรรม.
โดยสุญญตธรรม, โดยอนุปัสสนาทั้ง 7 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น

และโดยจำแนกออกเป็นสันตธรรม (ธรรมที่สงบ) และอสันตธรรม
(ธรรมที่ไม่สงบ) เป็นต้น ที่มาแล้วในนิเทศวาร. คำที่เหลือ มีนัยดุจ
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
ก็ในการละอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้นนี้ ผู้ใด ละอภิชฌาและ
โทมนัสในโลก กล่าวคือกายได้แล้ว ผู้นั้น ก็ละอภิชฌาและโทมนัส
แม้ในโลก คือเวทนาเป็นต้นได้อยู่นั่นเอง ก็จริง แต่ถึงกระนั้นพระองค์
ก็ได้ตรัสทุก ๆ นิเทศวาร โดยบุคคลแตกต่างกัน และโดยสติปัฏฐาน-
ภาวนา
ที่ปรากฏขึ้นในขณะจิตแตกต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า
โดยเหตุที่อภิชฌาและโทมนัสที่ละได้ในวาระหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันละได้
แม้ในวาระที่เหลือนั่นแหละ แม้เพื่อทรงแสดงการละอภิชฌาและโทมนัส
ไว้ในวาระนั้น จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้ ดังนี้แล.
จบ อรรถกถาว่าด้วยอุเทศวาร

สมาธิ 4


[133] บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะให้
สัตว์ทั้งหลายบรรลุคุณวิเศษมากประการ ด้วยพระธรรมเทศนาว่าด้วย
สติปัฏฐาน จึงทรงจำแนกสัมมาสมาธิข้อเดียวนั่นแหละ ออกเป็น 4 ข้อ
ตามอารมณ์ โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐานมี 4 อย่าง 4 อย่างคืออะไร ?
คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย
ดังนี้แล้ว ต่อไป เมื่อจะทรงเอาสติปัฏฐานแต่ละข้อมาจำแนกออกไป
(อีก) จึงได้ทรงปรารภเพื่อตรัสนิเทศวารไว้โดยนัยมีอาทิว่า กถญฺจ