เมนู

ซูบซีดแล้ว เหี่ยวแห้งแล้ว ทำให้เสื่อมสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า ขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก คือกายได้ เนื้อความของ
บทเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วอย่างที่พรรณนามานี้ นักศึกษาพึงทราบ
นัยแห่งอรรถกถานี้ พร้อมด้วยเนื้อความนั้นโดยการเทียบเคียงกันเถิด
นี้เป็นกถาพรรณนาความแห่งอุเทศแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก่อน.

อธิบายเวทนานุปัสสนา


บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบประโยชน์ ในการกล่าวซ้ำ เวทนาเป็นต้น
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ (ซึ่งมีรวมอยู่ใน
คำนี้ว่า เวทนาสุ . . .จิตฺเต. . . ธมฺเมสุ. . . ธมมานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
โดยนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในกายา-
นุปัสสนา.

ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี
ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี
นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่เวทนา 3 และ
เวทนานั้น เป็นโลกิยะอย่างเดียว ถึงแม้จิตก็เหมือนกัน เป็นโลกิยะ.
ธรรม
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ( เป็นโลกิยะ ). การจำแนกเวทนาเป็นต้น
เหล่านั้น จักปรากฏในนิเทศวาร. แต่ในที่นี้ พึงทราบการจำแนก
เวทนาล้วน ๆ ไว้ว่า เวทนาต้องพิจารณาเห็นอย่างใด พระโยคาวจร
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้น ก็ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา. ใน
จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ก็เวทนาควรพิจารณาเห็นอย่างไร ?
ตอบว่า ก่อนอื่น สุขเวทนาควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นทุกข์