เมนู

ไม่ใช่มรรคที่เป็นโลกุตตระ. และมรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นก็ไปได้ไม่ใช่
ครั้งเดียวด้วย ทั่งมีการไปไม่ใช่อย่างเดียว.

ศิษย์กับอาจารย์สนทนากัน


อนึ่ง แม้เมื่อก่อน ในบทนี้ พระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้มีการ
สนทนากันมาแล้วเหมือนกัน. (คือ) พระตรีปิฎกจุลลนาคเถระ ได้
กล่าวไว้ว่า เป็นทางสติปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค. แต่อาจารย์ของท่าน คือ
พระตรีปิฎกจุลลสุมนเถระ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นทางปนกันไป (ทั้งโลกิยะ
และโลกุตตระ).
เป็นทางเบื้องต้น ครับ ใต้เท้า ท่านตรีปิฎกจุลลนาคเถระกล่าว
เป็นทางปนกันไป คุณ ท่านตรีปิฎกจุลลสุมนเถระค้าน.
เมื่ออาจารย์กล่าวย้ำแล้วย้ำอีก ศิษย์ก็นิ่งไม่คัดค้าน. (ทั้ง 2 ท่าน)
ก็ลุกขึ้นโดยไม่วินิจฉัย (ชี้ขาด) ปัญหาเลย. ภายหลังพระเถระผู้เป็น
อาจารย์ไปที่ห้องอาบน้ำ คิดว่า เราพูดว่า เป็นทางปนกันไป แต่คุณ
จุลลนาคอ้างเอาว่า เป็นทางเบื้องต้น ในปัญหานี้ จะมีวินิจฉัยกันอย่างไร
นะ จึงร่ายพระสูตรตั้งแต่ต้น ไป กำหนด (ยุติ) ลงตรงนี้ว่า โย หิ
โกจิ ภิกฺขเว อิเม จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน เอวํ ภาเวยฺย สตฺต รสฺสานิ

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม เจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 เหล่านี้
อย่างนี้ ตลอด 7 ปี ) ดังนี้ ท่านก็รู้ว่า ธรรมดาโลกุตตรมรรค ครั้น
เกิดขึ้นแล้ว จะหยุดชะงักอยู่ตลอด 7 ปี ไม่มี มรรคที่ปนกันไปที่เรา
กล่าวแล้วนั้นมีไม่ได้ ส่วนมรรคที่เป็นบุพพภาค ที่คุณจุลลนาคแสดง

แล้วมีได้ จึงได้ไป ณ ที่ที่สำหรับประกาศในวันธัมมัสสวนะ 8 ค่ำ.
ได้ทราบว่า พระเถระในปางก่อนชอบฟังธรรม. พอได้ยินเสียง
เท่านั้น ก็คิดว่า เรา (จะฟัง) ก่อน เรา ( จะฟัง) ก่อนแล้ว ลงฟังกัน
อย่างพร้อมพรั่งทีเดียว. และวันนั้นก็เป็นวาระของท่านจุลลนาคเถระ.
เมื่อท่านนั่งบนธรรมาสน์ จับพัดแล้วกล่าวอารัมภบท (บุพพกถา)
พระเถระที่ยืนอยู่หลังอาสนะได้มีความคิดว่า เราจะนั่งในที่ลับ ไม่พูด
(อะไร). เพราะว่า พระเถระในปางก่อน เป็นนักฟัง. จะไม่เที่ยวยกความ
พอใจของตนขึ้นเป็นใหญ่อย่างเดียว เหมือนคนแบกมัดอ้อยไว้ฉะนั้น ถือ
เหตุผลอย่างเดียว. สลัดสิ่งที่ไม่มีเหตุผลทิ้ง. เพราะฉะนั้น พระเถระจึง
พูดว่า คุณ จุลลนาค.
ท่าน (จุลลนาค ) สงสัยว่า ดูเหมือนเสียงท่านอาจารย์ได้หยุด
แสดงธรรมแล้ว เรียนว่า อะไรครับ ใต้เท้า ?
คุณจุลลนาค มรรคปนกันไปที่ฉันว่านั้น ไม่มี แต่มรรคคือสติ-
ปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค ที่คุณว่านั้น มี พระเถระพูดตอบ.
พระเถระ (จุลลนาค) คิดว่า อาจารย์ของเรา เรียนปริยัติทั่วถึง
ทรงจำไตรปิฎกไว้ได้เป็นสุตพุทธ ปัญหานี้ ยังมัวสำหรับพระภิกษุถึง
ขนาดนี้ (ชั้นอาจารย์) พระภิกษุที่เป็นรุ่นน้องในอนาคตจักพิศวงปัญหานี้
(แน่นอน) เราจักเอาพระสูตรมาแก้ปัญหานี้ไม่ให้ดิ้นได้. จากคัมภีร์
ปฏิสัมภิทามรรค บุพพภาคสติปัฏฐานมรรค ท่านเรียกว่า เอกายน-
มรรค. พระเถระได้นำเอาพระสูตรมาตั้งว่า
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ( สัจจะ) ทั้ง 4

ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม
ประเสริฐที่สุด และบรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีปัญญาจักษุ ประเสริฐ
ที่สุด ทางสายนี้เท่านั้นไม่มีทางสายอื่นที่เป็นไป
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ. เธอทั้งหลาย จง
เดินทางสายนั้นเถิด ที่ให้มารและเสนามารหลง.
เพราะว่าเธอทั้งหลายเดินทางสายนั้นแล้ว จักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้.

อธิบายมรรค


ทางชื่อว่า มรรค เพราะหมายความว่า อย่างไร ?
เพราะหมายความว่า เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน และเพราะหมาย
ความว่า ผู้มีความต้องการพระนิพพานจะต้องดำเนินไป.
บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา (เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย)
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้า
หมองแล้ว เพราะมลทินทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น และเพราะอุปกิเลส
ทั้งหลาย มีอภิชฌาวิสมโลภเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น ก็สัตว์เหล่านี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน
มากพระองค์ ตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ตัณหังกร,
เมธังกร, สรณังกร, ทีปังกร
ที่ได้เสด็จอุบัติแล้ว ในกัปกัปเดียวกัน
นั้นแหละ ก่อนแต่กัปนี้ไป 4 อสงไขย เศษแสนกัป จนถึงพระ