เมนู

สติปัฏฐานชื่อโน้น. คนทั้งหลายจะพากันให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ
แล้วสรรเสริญด้วยถ้อยคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชีวิตของเธอเป็นชีวิตที่ดีแล้ว
เธอชื่อว่าเป็นมนุษย์สมบูรณ์แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอาบัติขึ้นมา
เพื่อประโยชน์แก่เธอ. ก็ในเรื่องนี้ไม่เฉพาะแต่มนุษย์ชาติอย่างเดียวเท่านั้น
ที่พากันประกอบมนสิการสติปัฏฐาน แม้แต่พวกสัตว์เดียรัจฉานที่อาศัยเขา
อยู่ (ก็มนสิการสติปัฏฐาน) ในการทำมนสิการสติปัฏฐานของสัตว์
นั้น มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้ :-

นกแขกเต้าเจริญสติปัฏฐาน


เล่ากันนาว่า นักฟ้อนรำคนหนึ่ง เที่ยวจับลูกนกแขกเต้ามาฝึก
นางอาศัยสำนักภิกษุณีอยู่ เวลาไปก็ไป (แต่ตัว) ลืมลูกนกแขกเต้า
เหล่าสามเณรีจึงจับมันมาเลี้ยงไว้. ตั้งชื่อให้มันว่า พุทธรักขิต (พุทธ-
รักษา). อยู่มาวันหนึ่ง พระเถรีเห็นมันเจ่าอยู่ข้างหน้า จึงเรียกว่า พุทธ-
รักษา.
มันขานรับว่า อะไรคะ คุณแม่.
มีมนสิการภาวนา อะไรบ้างไหม ? พระเถรีถาม
ไม่มีคะ คุณแม่ นกตอบ.
พระเถรีพูดว่า แกเอ๋ย ธรรมดาผู้อยู่ในสำนักบรรพชิต ไม่ควรจะ
เป็นอยู่โดยปล่อยอัตภาพเสีย (ปล่อยตัว) ควรปรารถนามนสิการอะไร
บางอย่างนะ แล้วได้บอกว่า แต่อย่างอื่นเจ้าไม่สามารถ (ทำได้) จง
สาธยาย (บริกรรม) ว่า อฎฺฐิ อฏฺฐิ (กระดูก กระดูก). มันตั้งอยู่

ในโอวาทของพระเถรี เที่ยวสาธยายว่า อฏฺฐิ อฎฺฐิ (กระดูก กระดูก).
อยู่มาวันหนึ่ง ตอนเช้ามันเกาะปลายเสาผึ่งแดดอ่อนอยู่ นกตัวหนึ่ง ได้
เอากรงเล็บเฉี่ยวเอาไป. มันส่งเสียงร้อง แจ๊ด แจ๊ด. สามเณรีทั้งหลาย
ได้ยินเสียงร้อง จึงพูดว่า คุณแม่ขา พุทธรักษาถูกนกเฉี่ยวไป หนูจะ
ไปช่วยให้มันปล่อย แล้วพากันถือเอาก้อนดินเป็นต้นติดตามไป ให้มัน
ปล่อยจนได้. พระเถรีถามมัน ผู้ที่เขาช่วยนำมา เกาะอยู่ข้างหน้าว่า
พุทธรักษาเวลานกเฉี่ยวเอาไป แกคิดอะไร ?
มันตอบว่า คุณแม่เจ้าขา ดิฉันไม่ได้คิดอย่างอื่น คุณแม่ ดิฉัน
คิดถึงกองกระดูกเท่านั้น อย่างนี้ว่า กองกระดูกนั้นแหละ เฉี่ยวเอากอง
กระดูกไป กองกระดูกจะเกลื่อนกลาดไป ไม่ว่าแม้ในที่ไหน ?
ดีแล้ว ดีแล้ว พุทธรักษา (การมนสิการอย่างนั้น) จักเป็น
ปัจจัยของความสิ้นไปแห่งภพของเธอในอนาคต พระเถรีกล่าว.
แม้สัตว์เดียรัจฉานในชนบทนั้น ก็ประกอบมนสิการในสติปัฏฐาน
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยัง
ความเจริญในสติปัฏฐานนั้นเองให้เกิดแก่เขาเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตร
นี้ไว้.

ความหมายของเอกายนะ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายโน แปลว่า ทางเอก.
เพราะว่าทางมีชื่อมากอย่าง คือ มรรคา, ปันถะ, ปถะ,
ปัชชะ, อัญชสะ, วฏุมะ, อายตนะ, นาวา,
อุตตรเสตู, กุลละ, ภิสิ, และสังกมะ.