เมนู

ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ตลอด 7 วัน เขาพึงหวัง
ผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี.
จบ สัจจบรรพ
จบ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

นิคมวจนะ


[152] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ
ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
หนทางนี้ คือสติปัฏฐาน 4 ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนา
มาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ สติปัฏฐานสูตรที่ 10
จบ มูลปริยายวรรคที่ 1
ประมวลพระสูตรแห่งวรรคนี้
วรรคอัน ประเสริฐประดับด้วย มูลปริยายสูตร สัพพาสวสังวรสูตร
ธัมมทายาทสูตร ภยเภรวสูตร อนังคณสูตร อากังเขยยสูตร
วัตถูปมสูตร สัลเลขสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร
และ สติปัฏฐานสูตร จบ
บริบูรณ์แล้ว.

อรรถกถาปติปัฏฐานสูตร


[131] สติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้.

ที่มาของคำว่า กุรุ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ ความว่า ชนบทแม้
แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่ของราชกุมารผู้อยู่ในชนบทชื่อว่า กุรุ เขาเรียกว่า
กุรู ด้วยรุฬหิศัพท์ (คำที่งอกไปจากดำเดิม ) (พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ประทับ ) ที่กุรุชนบทนั้น.
แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้า
มันธาตุราช
มนุษย์ใน 3 ทวีป ได้ยิน (คำเล่าลือ) ว่า ขึ้นชื่อว่า
ทวีปชมพู เป็นดินแดนที่อุบัติของยอดคน (อุดมบุรุษ) จำเดิมแต่
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย เป็นถิ่น
อภิรมย์อุดมทวีป จึงได้พากันมาพร้อมด้วยพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราช
ผู้ทรงส่งจักรแก้วออกหน้าแล้วเสด็จติดตามมายังทวีปทั้ง 4.
จากนั้นมา พระราชาได้ตรัสถามปริณายกแก้วว่า ยังมีหรือไม่
ถามที่ ๆ เป็นรมณียสถานยิ่งกว่ามนุษยโลก ?
ปริณายกแก้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระอาชญาไม่พ้นเกล้า
ไฉนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงตรัสอย่างนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมิได้
ทอดพระเนตรอานุภาพของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์หรือ ? สถานที่ดวง