เมนู

กถาพรรณนาสฬายตนวาระ


[124] พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่า
อายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตนํ
มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรคนั่นเอง.
แต่ว่า ในคำว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้น
แห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศ
แห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป
(อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.
คำที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ

กถาพรรณนานามรูปวาระ


[125] พึงทราบวินิจฉัยในนานรูปวาระ (ต่อไป) :-
นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ.
แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการุ ได้แก่
สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์
ก็จริงอยู่ แต่ธรรม 3 อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ำทุกดวง เพราะฉะนั้น
ในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ ด้วยอำนาจแห่งธรรม
3 อย่างเหล่านี้นั่นเอง
คำว่า จตฺตาริ ในคำว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกำหนด

การนับ (เป็นจำนวนนับ).
คำว่า มหาภูตานิ นี้ เป็นชื่อของดิน น้ำ ไฟ ลม แต่เหตุที่
เรียกสิ่งทั้ง 4 นั้นว่ามหาภูตและนัยแห่งการวินิจฉัยอย่างอื่นในนานรูปนี้
ทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศแห่งรูปขันธ์ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
ส่วนคำว่า จตุนฺนํ นคำว่า จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทาย
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ มีอธิบายว่า อาศัยซึ่ง
มหาภูตทั้ง 4.
บทว่า อุปาทาย ความว่า เข้าไปยึดไว้ คือจับไว้. อาจารย์
บางพวกว่า นิสฺสาย ( อาศัย ) ก็มี.
ก็ศัพท์ว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นปาฐะเหลือ (เกิน). อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า ชุมนุม เพราะ
เหตุนั้น พึงทราบอรรถาธิบายนี้ว่า รูปที่อาศัยการชุมนุมมหาภูตรูปทั้ง 4
เป็นไปอยู่.
เมื่อเป็นอย่างนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง มหาภูตรูป 4 มีปฐวีเป็นต้น
และรูป 23 อย่าง ที่อาศัยมหาภูต 4 อย่างเป็นไป ที่ตรัสไว้ในพระบาลี
นั่นเองในคัมภีร์อภิธรรม โดยแยกประเภทเป็นจักขายตนะเป็นต้น แม้
ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่ารูป.
ก็ในคำว่า วิญฺญาณสมุทยา นี้ วิญญาณใดเป็นปัจจัยของนาม
(อย่างเดียว) ด้วย ของรูป (อย่างเดียว ) ด้วย ทั้งของนามของรูปด้วย
เพราะฉะนั้น ด้วยสามารถแห่งนาม แห่งรูป และทิ้งนามทั้งรูปที่มี
วิญญาณเป็นปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งนามรูปเพราะ
วิญญาณเกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ
ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนานามรูปวาระ

กถาพรรณนาวิญญาณวาระ


[126] พึงทราบวินิจฉัย ในวิญญาณวาระ (ต่อไป) :-
วิญญาณในเพราะจักษุ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นแล้วจากจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็อย่างนี้ เหมือนกัน.
แต่วิญญาณนี้ ได้แก่มโนนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนวิญญาณ.
คำว่า มโนวิญญาณ นี้ เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไปในภูมิ 3 เว้นทวิ-
ปัญจวิญญาณ.
แต่ในคำว่า สงฺขารสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ เพราะสังขารเกิด ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
นั่นเอง โดยวิญญาณที่มีสังขารเป็นปัจจัย. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนาวิญญาณวาระ

กถาพรรณนาสังขารวาระ


[127] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารวาระ (ต่อไป) :-
สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ. แต่ว่า ในวาระแห่งวิตถารนัย