เมนู

และทั้ง 2 บทนี้ ควรใช้ในข้อความทั้งคู่อย่างนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่
และเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลายด้วย เพื่อการดำรงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์
สัมภเวสีทั้งหลายด้วย.

กวฬิงการาหาร


อาหารที่จะต้องทำให้เป็นคำๆ ไปแล้วกลืนกิน ชื่อว่า กวฬิงการา-
หาร.
คำว่า กวฬิงการาหาร นี้ เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุกและขนมสด
(กุมมาส) เป็นต้น เป็นที่ตั้ง.
สองบทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ความว่า ( อาหาร)
ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็นสิ่งที่หยาบ โดยวัตถุ. ชื่อว่า สุขุม เพราะ
เป็นสิ่งที่ละเอียด โดยวัตถุ.
แต่โดยสภาวะ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า เป็นของละเอียดทีเดียว
เพราะเป็นของนับเนื่องในสุขุมรูป. ถึงแม้ว่าการที่อาหารนั้นจะเป็นของ
หยาบและเป็นของละเอียดโดยวัตถุ ก็ต้องรู้ได้เพราะอุปาทายรูป. ความจริง
อาหารของนกยูงที่ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหาร
จระเข้. ได้ทราบว่า พวกจระเข้ฮุบก้อนหินเข้าไป และก้อนหินเหล่านั้น
พอตกถึงท้องของจระเข้เท่านั้นก็ย่อยหมด (ละลายไป). พวกนกยูงจิกกิน
สัตว์มีชีวิต เช่นงูและแมลงป่องเป็นต้น. แต่อาหารของพวกหมาใน
ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารของนกยูง. ได้ทราบว่า
หมาในเหล่านั้นแทะเขาและกระดูก (สัตว์) ที่ทิ้งไว้ตั้ง 3 ปีได้ ก็เขา
และกระดูกสัตว์เหล่านั้น พอแต่เปียกน้ำลายของมันเท่านั้น ก็ยุ่ยเหมือน
กันกับเหง้ามัน.

อาหารของพวกช้าง ชื่อว่า เป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบ
อาหารของหมาใน พวกมันกินกิ่งไม้นานาชนิด. อาหารของสัตว์ทั้งหลาย
เช่นโคลาน ระมาดและมฤค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นของละเอียดกว่าอาหาร
ช้าง. ได้ทราบว่า พวกมันพากันกินใบไม้นานาชนิดเป็นต้น ที่ไม่แข็ง
(ไม่มีแก่น). อาหารของพวกโค ชื่อว่า เป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารของ
โคลานเป็นต้น เหล่านั้น. พวกมันกินหญ้าสดและหญ้าแห้งกัน. อาหาร
ของกระต่ายเป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารโคเหล่านั้น. อาหารของพวกนก
ละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย. อาหารของชาวชายแดนละเอียดกว่า
อาหารของพวกนก. อาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ) ละเอียดกว่า
อาหารของชาวชายแดน. อาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาละเอียดกว่าอาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ). พระกระยาหารของ
พระเจ้าจักรพรรดิละเอียดกว่าอาหารของคนแม้เหล่านั้น. อาหารของเหล่า
ภุมมเทวดาละเอียดกว่าพระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ. อาหารของ
เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของเหล่าภุมมเทวดา.
อาหาร (ของเหล่าเทวดาชั้นต่าง ๆ) ก็ควรขยายให้พิสดารอย่างนี้ไปจน
ถึงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. อาหารของเทวดาชั้นเหล่านั้นตกลงว่า
เป็นอาหารละเอียดทั้งนั้น. อนึ่ง ในวัตถุหยาบนี้ โอชาก็น้อย มีพลังต่ำ.
ในวัตถุละเอียด โอชามีพลังสูง. จริงอย่างนั้น ผู้ดื่มข้าวยาคูตั้งเต็มบาตร
ครู่เดียวเท่านั้นก็หิว อยากจะเคี้ยวกินของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั่นเอง.1 ส่วน
ผู้ดื่มเนยใส แม้เพียงฟาดมือเดียว ก็ไม่อยากกิน (ไม่หิว) ตลอดทั้งวัน.
ในจำนวนวัตถุและโอชา 2 อย่างนั้น วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย
1. เปยยาลเล็ก วางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่า ผิดที่ ควรจะอยู่หลัง ขาทิตุกาโม จึงแปลเช่นนั้น.

(หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต ) ไว้ได้. (ส่วน) โอชา รักษา
ชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้. แต่ทั้ง 2
อย่างนั้น รวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ด้วย
รักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.

ผัสสาหาร - มโนสัญเจตนาหาร - วิญญาณาหาร


บทว่า ผสฺโส ทุติโย ความว่า ผัสสะ 6 อย่างมีจักขุสัมผัส
เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาหารอย่างที่ 2 ในจำนวนอาหาร 4 อย่างนั้น.
ก็นัยนี้ เป็นนัยแห่งเทศนาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุชื่อนี้จึง
ไม่ควรแสวงหาคำนี้ว่า อาหารที่ 2 และที่ 3 ในอาหารวาระนี้.
เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา.
จิตดวงใดดวงหนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณ.
ในเรื่องนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีคำถามว่า สัตว์
ดำรง (ชีพ) อยู่ได้เพราะปัจจัย ดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร เมื่อเป็น
เช่นนั้นเหตุไฉน เมื่อปัจจัยของสัตว์ทั้งหลายแม้อย่างอื่นมีอยู่ พระองค์
จึงตรัสอาหารไว้ อย่างเหล่านี้เท่านั้น1.
ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบว่า พระองค์ตรัสไว้ เพราะเป็นปัจจัยพิเศษแห่ง
สันตติที่เป็นภายใน.
อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา
ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณ
เป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
1. เปยยาลเล็กในปาฐะวางไว้หลัง วุจฺจเต เข้าใจว่าคงวางผิด จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.