เมนู

สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ มีมูลเดียวสำหรับผู้งดเว้นด้วยจิต
ที่ปราศจากญาณ แต่อโลภะ ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.
แม้ในอัพยาบาท ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
สัมมาทิฏฐิมีมูล 2 เหมือนกันตามอำนาจของอโลภะและอโทสะ
ดังนี้.
กุศลธรรมชื่อว่า อโลภะ ในคำว่า อโลโภ กุสลมูลํ เป็นต้น
เพราะไม่โลภ. คำว่า อโลโภ นี้ เป็นชื่อของธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกัน
ข้ามกับโลภะ. ถึงในอโทสะและอโมหะ ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
ในจำนวนกุศลมูลทั้ง 3 อย่างนั้น อโลภะชื่อว่าเป็นกุศลมูล เพราะ
ตัวเองก็เป็นกุศล และชื่อว่าเป็นมูลของกุศลธรรมทั้งหลาย มีการงดเว้น
จากปาณาติบาตเป็นต้น เหล่านี้ด้วย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่ง
สัมปยุตธรรมของกุศลลางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัย
ของกุศลธรรมลางเหล่า. ในความที่อโทสะและอโมหะเป็นกุศลมูล ก็นัย
เดียวกันนี้แหละ.

อริยสัจในกรรมบถ


บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะย้ำเนื้อความนั้นทั้งหมด ที่ท่านได้
แสดงไว้แล้วทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จึงได้กล่าวอัปปนาวาระไว้มีอาทิว่า
ยโต โข อาวุโส ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ อกุสลํ ปชานาติ ความว่า รู้ชัด
อกุศล ด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ 10 ตามที่ได้แสดงไว้แล้วอย่างนี้.
ถึงในบทมีอาทิว่า เอวํ อกุสลมูล ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือด้วยนัยอย่างเดียวกัน เป็นอันท่านพระ
สารีบุตร
ได้กล่าวถึงกรรมฐานเป็นเหตุนำสัตว์ออกไป (จากภพ) จนถึง
พระอรหัต สำหรับผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีจตุราริยสัจเป็นอารมณ์.
กล่าวไว้อย่างไร ?
กล่าวไว้ว่า ความจริง อกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10
เว้นอภิชฌา (ท่านกล่าวว่า) เป็นทุกขสัจในกรรมบถวาระนี้ ส่วนธรรม
ทั้ง 2 อย่างเหล่านี้ คือ อภิชฌา 1 โลภะที่เป็นอกุศลมูล 1 (ท่าน
กล่าวว่า) เป็นสมุทัยสัจโดยตรง. แต่กรรมบถทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
เป็นทุกขสัจโดยอ้อม. กุศลมลและอกุศลมูลทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
เป็นสมุทัยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งกุศลมูลและอกุศลมูลทั้ง 2 (ท่าน
กล่าวว่า) เป็นนิโรธสัจ. เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อละสมุทัย เมื่อรู้แจ้ง
นิโรธ อริยมรรค (ท่านกล่าวว่า) เป็นมรรคสัจ สัจจะทั้ง 2 ท่านได้
กล่าวไว้แล้วโดยสรุป ดังที่พรรณนามานี้. ส่วนสัจจะ 2 อย่าง (นิโรธ
มรรค) พึงทราบด้วยสามารถแห่งการไม่หมุนกลับ.
บทว่า โส สพฺพโส ราคานุสยํ ปหาย (เธอละราคานุสัยได้
โดยประการทั้งปวง) ความว่า เธอรู้ชัดอกุศลเป็นต้น อยู่อย่างนี้ จะละ
ราคานุสัยได้โดยอาการทุกอย่าง.
บทว่า ปฏิฆานุสยํ ปฏิวิโนเทตฺวา (บรรเทาปฎิฆานุสัย) มีคำ
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า นำปฏิฆานุสัยออกได้โดยประการทั้งปวงทีเดียว ด้วย
คำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวถึงอนาคามิมรรค.
บทว่า อสฺมีติ ทิฏฺฐิมานานุสยํ สมูหนิตฺวา (ถอนทิฏฐิมานา-

นุสัยว่า เรามี ออกไป) ความว่า เพิกถอนทิฏฐิมานานุสัยที่เป็นไปโดย
อาการถือรวมกันนี้ว่า เรามี โดยกระทำธรรมบางประการในขันธ์ 5
ไม่ให้ตกต่ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิมานานุสยํ ท่านอธิบายไว้ว่า
ได้แก่มานานุสัยที่เช่นกับทิฏฐิ. เพราะว่ามานานุสัยนี้ เป็นเช่นเดียวกับ
ทิฏฐิ เพราะมีลักษณะเป็นไปแล้วว่า เรามี เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าว
ไว้อย่างนี้. อนึ่ง ผู้ประสงค์จะเข้าใจอัสมิมานะนี้โดยพิสดาร ควรตรวจดู
เขมกสูตร ในขันธกวรรคเทอญ.
บทว่า อวิชฺชํ ปหาย ความว่า ละอวิชชาที่เป็นรากเหง้าของ
วัฏฏะ.
บทว่า วิชฺชํ อุปฺปาเทตฺวา ความว่า ให้วิชชาคืออรหัตตมรรค
ซึ่งห้ำหั่นอวิชชานั้นเกิดขึ้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว
ถึงอรหัตตมรรค.
ข้อว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ (เป็นผู้การทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ทีเดียว ) ความว่า เป็นผู้กระทำการตัดขาด
วัฏฏทุกข์ในอัตภาพนี้ทีเดียว.
ท่านพระสารีบุตร ยังเทศนาให้จบลงด้วยคำว่า เอตฺตาวตาปิ โข
อาวุโส
อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่
กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้. คำที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.

ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.
จบ กถาว่าด้วยกรรมบถ

พระภิกษุชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร


[112] ในคำว่า สาธาวุโส โข ฯลฯ อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ
มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง 4 ของ
ท่านพระสารีบุตร โดยมุขคือกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว จึงพากันชมเชย
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยถ้อยคำนี้ว่า ดีแล้วครับได้เท้า และ
อนุโมทนาด้วยจิตที่เป็นสมุฏฐานของถ้อยคำนี้นั้นเอง รับเอาด้วยวาจา
เอิบอิ่มด้วยใจทีเดียว.
บัดนี้ เพราะเหตุที่พระเถระเป็นผู้สามารถที่จะแสดงธรรมเทศนาว่า
ด้วยจตุราริยสัจได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระสารีบุตรสามารถจะบอกจะแสดงอริยสัจ 4 ได้โดยพิสดาร.
หรือเพราะเหตุที่ท่านพระสารีบุตรต้องการจะแสดงธรรมให้สูงยิ่งขึ้นไปอยู่
แล้ว จึงได้กล่าวว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส ( เพียงเท่านี้เท่านั้นแล
คุณ) เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายนั้น ผู้ประสงค์จะฟังสัจจเทศนา
โดยนัยแม้อย่างอื่น จึงได้ถามปัญหาสูงขึ้นไป กะท่านพระสารีบุตร.
ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ถามปัญหาอื่นที่สูงขึ้นไป โดยนัยนี้ว่า ใต้เท้าขอรับ
ยังมีอยู่อีกหรือ บรรยายแม้อย่างอื่น คือเหตุแม้อย่างอื่น ที่เหนือกว่า
ปัญหาที่ใต้เท้าได้ถามเองตอบเองมาแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้นได้พากันถามปัญหา