เมนู

แก้กุศลกรรมบถ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ (เจตนา
งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้น ดังต่อไปนี้ อกุศลกรรมบถ
ทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.
เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร อธิบายว่า ละเวรได้
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น
เจตนานั้น จึงชื่อว่า เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป
นี้เป็นการขยายความในคำว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน ส่วนการ
ขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต
ชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงด
การเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วย
กุศลจิต.

แก้วิรัติ 3


วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ 1 สมาทาน-
วิรัติ 1 สมุจเฉทวิรัติ 1. ในจำนวนวิรัติทั้ง 3 นั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่
ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย (มาก่อน) แต่ได้พิจารณาถึงชาติ วัย
และการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว เห็นว่า ไม่เหมาะแก่เรา การ
ทำอย่างนี้ แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ
เหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป

นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ

ได้ทราบว่า ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ มารดาของเขาเกิดโรค
และหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสด ๆ (มาประกอบยา). ลำดับนั้น
พี่ชายของจักกนะสั่งว่า ไปเถอะเจ้าจงไปนา แล้วส่งจักกนะไป. เขาก็
ได้ไปที่นานั้น. และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่. มันเห็น
เขาแล้วรีบวิ่งหนีไป แต่ไปข้องเถาวัลย์ จึงส่งเสียงร้อง แกร่ก แกร่ก
( กริ กริ) ขึ้น. จักกนะตามเสียงนั้นไป จับกระต่ายไว้ได้ ตั้งใจว่า
จะเอามาทำยาให้แม่ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสำหรับเขาที่จะ
ทำลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา. จึงพูดว่า ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้า
กินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป และเมื่อกลับ
ถึงบ้าน เขาถูกพี่ชายถามว่า เป็นอย่างไรน้อง ได้กระต่ายไหม ? จึงได้
บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ. บัดนั้น พี่ชายก็ได้บริภาษเขา. เขาเข้าไป
หาแม่แล้ว ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจำความได้
ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย. ทันใดนั้น แม่ของเขาได้หายจากโรค.
แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว ถึงจะสละชีพ
ของตน ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป ก็ไม่ล่วงเกิน
วัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชาวเขา
อุตรวัฑฒมานะ.

นิทานประกอบสมาทานวิรัติ
ได้ทราบว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสำนักของท่านปิงคลพุทธ-
รักขิตเถระ
ชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา. ต่อมา โคของเขาหายไป.