เมนู

อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร


(110) สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
คำถามที่พระเถระ ( สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรนะคุณ ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็น
อย่างไรเล่าคุณ ? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา ( ถามเพื่อตอบ
เอง ) เท่านั้นเอง.
เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี
ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ
ด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี
ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของตนส่วนมากนั้น
ย้ำถึง 2 ครั้งว่า คุณ ที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ. . . อันที่จริงในเรื่องนี้
มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
ท่านพระสารีบุตร นี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุ
เท่าไรนะคุณ อริยสาวกจึงชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความ
หมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฎฐิ).

แก้สัมมาทิฏฐิ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้
ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.

ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึง
ทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้น มี 2 อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ 1
โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ 1.
ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้
ว่า สัตว์มีกรรม เป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไป
โดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญา
ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่า โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มี
สัมมาทิฏฐิ มี 3 ประเภท คือ ปุถุชน 1 เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) 1
อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) 1.
ในจำนวน 3 ประเภทนั้น ปุถุชนมี 2 ประเภท คือ พาหิรกชน
(คนนอกศาสนา) 1 ศาสนิกชน (คนในศาสนา) 1 ในจำนวน 2
ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่า เป็น
ผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ ส่วนศาสนิก-
ปุถุชน ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล ) โดยความ
เห็นทั้ง 2 อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลบคลำความ
เห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).
เสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่
นอน ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศล
ที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.

เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้
แล้ว.
อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่
ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง 2 อย่าง หรือตัดขาด
ความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปทรง และผู้
ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอน-
แคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง 9 ประการ.
อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออก
ไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระ
สัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
( 111 ) คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา มีอธิบายว่า
ในกาลใด.
ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคือ
อกุศลกรรมบถ 10 ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วย
สามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็น
อารมณ์.
ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่
เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง ( ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล ).
ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.

ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบ
การรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.
บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการ
รู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้ .
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตร-
สัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯล ฯ ได้มาสู่
พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตร จบการแสดงโดยย่นย่อ
ลงแล้ว. การแสดง ( ของท่าน ) นี้ ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการ
แทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง
สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควร
ทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไป
แล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง 2 อย่างนั้น ด้วย
การแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง 2
อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรค
เบื้องสูงไว้ 2 อย่าง.
ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำ มีอาทิ
ว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า
มรรคทั้ง 4 ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มีด้วย
การแสดงอย่างพิสดารก็มี.
อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้า

ได้การทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึง
ทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุก ๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้
ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยาก ที่ยังไม่ได้ ( อธิบาย)
เท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดาร ซึ่งปฐมวารในจำนวน
วาระเหล่านั้นก่อน.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละคุณ เป็นอกุศล. อกุศล
พึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย
(เป็นธรรม) ทรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ
พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง.
นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.

แก้ปาณาติบาต


ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัย

ว่า การยังสัตว์.
ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ได้แก่ การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต
อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต. ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต
นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์
ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็น
ไปทางกายทวาร หรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า ปาณาติบาต.
ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่า มีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิต