เมนู

เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นพอใจ พากัน
ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร.
จบ สัมมาทิฏฐิสูตร
สูตรที่ 9 จบ

สรุป


ทุกข์ 1 ชรามรณะ 1 อุปาทาน 1 สฬายตนะ 1 นามรูป 1
วิญญาณ 1 รวมเป็น 6 บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เป็นอย่าง
ไรเล่า คุณ ?
ชาติ 1 ตัณหา 1 เวทนา 1 อวิชชา 4 อย่าง 1 รวมเป็น 4
บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ ?
อาหาร 1 ภพ ผัสสะ 1 สังขาร 1 ที่ 5 คือ อาสวะ 1
รวมเป็น 5 ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ ?
6 อย่าง คืออะไร ได้กล่าวไว้แล้ว 4 อย่างคืออะไร ได้กล่าวไว้
แล้ว 5 อย่างคืออะไร ก็ได้กล่าวไว้แล้ว จึงรวมเป็น 15 บท สำหรับ
สังขารทั้งมวล ดังนี้แล.

อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร


(110) สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
คำถามที่พระเถระ ( สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรนะคุณ ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็น
อย่างไรเล่าคุณ ? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา ( ถามเพื่อตอบ
เอง ) เท่านั้นเอง.
เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี
ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ
ด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี
ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของตนส่วนมากนั้น
ย้ำถึง 2 ครั้งว่า คุณ ที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ. . . อันที่จริงในเรื่องนี้
มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
ท่านพระสารีบุตร นี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุ
เท่าไรนะคุณ อริยสาวกจึงชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความ
หมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฎฐิ).

แก้สัมมาทิฏฐิ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้
ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.