เมนู

เพราะอุปาทานเกิด ภพจึงเกิด เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ อริยาษ-
ฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ สัมมา-
ทิฏฐิ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ. คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพอย่างนี้
รู้ชัดเหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ
อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระ
สัทธรรมนี้.

อุปาทานวาระ


(120) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมีอยู่ คุณ
ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่ง
อุปาทาน รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน แม้เพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ก็อุปาทานคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ อุปาทานมี 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ กามุปาทาน
ความยึดมั่นด้วยอำนาจกาม 1 ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ 1
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอำนาจศีลและพรต 1 อัตตวาทุปาทาน

ความยึดมั่นด้วยอำนาจวาทะว่าตน 1. เพราะตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิด
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปทาน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คุณ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการทั้งปวง ฯ ลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ตัณหาวาระ


(121) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯล ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวไว้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดตัณหา
เหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ตัณหาคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุให้เกิดตัณหา, ความดับตัณหา,
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ ตัณหามี 6 หมู่อย่างนี้คือ รูปตัณหา ความทะยาน
อยากในรูป 1 สัททตัณหา ความทะยานอยากในเสียง 1 คันธตัณหา
ความทะยานอยากในกลิ่น 1 รสตัณหา ความทะยานอยากในรส 1