เมนู

รู้กุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศลอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเธอจะละกิเลสที่นอน
เนื่องอยู่ในสันดาน คือ ราคะ ( ราคานุสัย) บรรเทากิเลสที่นอนเนื่อง
ในสันดาน คือ ปฏิฆะ (ปฏิฆานุสัย) ถอนกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน
คือ ทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ได้ (มานานุสัย ) ละอวิชชาได้ทุกอย่าง
ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความ
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระ
สัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.
( 112 ) ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันชมเชยอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร
ว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระ
สารีบุตร
สูงขึ้นไปอีกว่า ใต้เท้าขอรับ ยังมีเหตุ ( ปริยาย) อย่างอื่น
อีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อาหารวาระ


(113) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดของอาหาร ความดับของ
อาหาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของอาหารเพียงเท่านี้แล คุณ อริย-
สาวกก็ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า อาหารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับ
แห่งอาหาร และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหาร คืออะไร ?

ตอบว่า คุณ อาหารมี 4 อย่างเหล่านั้น เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิด
แล้ว ดำรงชีพอยู่ได้ หรือเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่กำลังแสวงหา
ที่เกิด.
อาหาร 4 อย่าง คืออะไร ? คือ กวฬิงการาหาร (อาหารเป็น
คำ ๆ) หยาบหรือละเอียด 1 ผัสสาหาร ( อาหารคือผัสสะ) 1 มโนสัญ-
เจตนาหาร (อาหารคือกรรม) 1 วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) 1
เพราะตัณหาเกิด อาหารจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อาหารจึงดับ อริยมรรค
มีองค์ 8 นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร คือ :-
(1) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง (ชอบ)
(2) สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง (ชอบ)
(3) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง (ชอบ)
(4) สัมมาวาจา การเจรจาถูกต้อง (ชอบ )
(5) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง (ชอบ)
(6) สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง (ชอบ)
(7) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง (ชอบ)
(8) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง (ชอบ)

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอาหาร, เหตุเกิดแห่งอาหาร, ความ
ดับแห่งอาหาร และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหารอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัยได้ ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามีได้
ละอวิชชาได้ โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวก
ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกตอง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส

ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.
(114) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
สารีบุตร
ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่าน
พระสารีบุตร
สูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ใต้เท้า ฯลฯ

สัจจวาระ


(115) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้
ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับ
แห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว
ก็อะไรเล่า คุณ เป็นทุกข์ ? ความเกิดบ้าง เป็นทุกข์ ความแก่บ้าง
เป็นทุกข์ ความตายบ้าง เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความ
ทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง เป็นทุกข์ การประจวบกับ
คนหรือสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากคนหรือสิ่งที่รัก ก็
เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง การไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน ( ความยึดมั่น) ทั้ง 5 เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ.
เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่
ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนัก
ในภพนั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) 1