เมนู


นี้เถิด. แต่การประกอบเนื้อความ ตามลำดับบทในทุก ๆ บท ไม่ได้ทำ
ไว้เหมือนในบทวิหิงสาและอวิหิงสานี้ เพราะเกรงว่าจะเยิ่นเย้อเกินไป.

บรรยายแห่งสัลเลขธรรม


[109] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นว่า
สามารถในการดับกิเลสได้สนิทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงย้ำพระธรรม-
เทศนานั้นประกอบ (ผู้ฟัง) ในการปฏิบัติธรรม จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิติ โข จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุดังนี้แล).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺเลขปริยาโย (บรรยายแห่ง
สัลเลขธรรม) ได้แก่เหตุแห่งสัลเลขธรรม. ในทุกบทก็มีนัยนี้. กุศลธรรม
ทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นนั้นแหละ ในสัลเลขสูตรนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เหตุแห่งสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลาอกุศลธรรมมีวิหิงสา1เป็นต้น
ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งจิตตุปบาท เพราะจิตที่บุคคลพึงให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งอวิหิงสาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการหลีกไป เพราะ
เป็นเหตุแห่งการหลีกไปจากวิหิงสาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งความ
เป็นผู้สูงส่ง เพราะยังความสูงส่งให้สำเร็จ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการยังกิเลส
ให้ดับได้ เพราะยังวิหิงสาเป็นต้นให้ดับได้.
บทว่า หิเตสินา ความว่า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อนุกมฺปเกน (ผู้ทรงเอ็นดู) คือผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู.
บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย (ทรงอาศัยความเอ็นดู) คือทรง
กำหนดความเอ็นดูด้วยพระทัย มีคำอธิบายว่า ทรงอาศัย (ความเอ็นดู)
1. ปาฐะว่า อวิหึสาทีนํ เข้าใจว่า จะเป็น วิหึสาทีนํ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และฉบับพม่า
เป็น....เอว วิหึสาทีนํ.

ดังนี้บ้าง. ข้อว่า กตํ โว ตํ มยา (กิจนั้นเราตถาคตได้ทำแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ) ความว่า กิจ1นั้น เราตถาคตผู้แสดงเหตุ 5 ประการ
เหล่านี้ ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. อธิบายว่า กิจมีประมาณเท่านี้ เท่า
นั้นเอง เป็นหน้าที่ของศาสดาผู้ทรงเอ็นดู ได้แก่การทรงแสดงธรรมที่ไม่
ผิดพลาด ( พระองค์ได้ทรงทำแล้ว ) ส่วนต่อแต่นี้ไป ธรรมดาว่าการ
ปฏิบัติเป็นหน้าที่ของสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ นั่นโคนต้นไม้ทั้งหลาย ฯลฯ เป็น
อนุศาสนีของเราตถาคต. ก็ในจำนวนสถานที่ 3 แห่งนั้น ด้วยบทว่า
รุกขมูล นี้ พระองค์ทรงแสดงถึงที่นั่ง ที่นอน คือควงต้นไม้ ด้วย
คำว่า สุญญาคาร (เรือนร้าง ) นี้ ทรงแสดงถึงสถานที่ ๆ สงัดจากคน
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำทั้ง 2 นี้ ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะสมกับความเพียร
คือทรงมอบความเป็นทายาทให้. คำว่า เธอทั้งหลายจงเพ่ง หมายความว่า
จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ 38 ประการ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่ง
อารมณ์ ) และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย
ลักขณูปนิชฌาน ( การเพ่งลักษณะ) มีคำอธิบายว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนา.
ข้อว่า มา ปมาทตฺถ ( เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท ) ความว่า
เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท คืออย่าได้เดือดร้อนในภายหลัง. อธิบายว่า
ชนเหล่าใด เมื่อก่อน คือในเวลายังหนุ่ม ในเวลาไม่มีโรค ในเวลาประสบ
ความสบาย 7 อย่างเป็นต้น และในเวลาที่ยังมีพระศาสดาอยู่พร้อมหน้า
1. ปาฐะว่า กตํ มยา อิเม ปญฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหากํ กตํ เอตฺตกเมว ห ฯลฯ
กิจฺจํ เข้าใจว่า เป็นดังนี้ ตํ มยา อิเม ปญฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหากํ กตํ ฯ เอตฺตกเมว
หิ ฯลฯ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และถูกตามหลักความจริง.

เว้นจากโยนิโสมนสิการ เสวยความสุขจากการนอนและความสุขจากการ
หลับ เป็นเหยื่อของเรือด ประมาทอยู่ ทั้งคืนทั้งวัน ชนเหล่านั้นภายหลัง
คือในเวลาชรา เวลามีโรค เวลาจะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดา
ปรินิพพานแล้วระลึกถึงการอยู่อย่างประมาทในกาลก่อนนั้น และพิจารณา
เห็นการปฏิสนธิ และการถึงแก่กรรมของตนว่าเป็นภาระ ( เรื่องที่จะ
ต้องนำพา ) จึงเป็นผู้มีความเดือดร้อน ส่วนเธอทั้งหลายอย่าได้เป็น
เหมือนคนประเภทนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงเนื้อความนั้นดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายอย่าได้เดือดร้อน
ภายหลัง.
บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี (นี้เป็นอนุศาสนี ( การ
พร่ำสอน) ของเราตถาคต สำหรับเธอทั้งหลาย ) ความว่า นี้เป็น
อนุศาสนี มีคำอธิบายว่า เป็นโอวาทเพื่อเธอทั้งหลาย จากสำนักของเรา
ตถาคตว่า จงเพ่ง ( เผากิเลส ) จงอย่าประมาท ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัลเลขสูตร
จบสูตรที่ 8

9. สัมมาทิฏฐิสูตร


( 110 ) ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับที่พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี.
ครานั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า คุณ.
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ ดังนี้. ด้วยเหตุกี่ประการนะ คุณ พระอริยสาวกจึงจะเป็นผู้มี
ความเห็นถูกต้อง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรม
ไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนว่า ใต้เท้าครับ กระผมทั้งหลายมาจาก
ที่ไกลมากก็เพื่อจะฟังอรรถาธิบายภาษิตนี้ ในสำนักของใต้เท้า ขอได้โปรด
กรุณาเถิดขอรับ ใต้เท้าเท่านั้นแหละ เข้าใจแจ่มแจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้
ภิกษุทั้งหลายพึงอรรถาธิบายของใต้เท้าแล้ว จักพากันทรงจำไว้.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้คุณทั้งหลาย
จงพากันตั้งใจฟัง ผมจักกล่าวให้ฟัง. ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับคำเตือน
ของท่านพระสารีบุตรเถระว่า พร้อมแล้ว ใต้เท้า.
( 111 ) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริย-
สาวกรู้ชัดอกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้ชัดกุศลกับทั้งรากเหง้าของ
กุศล เพียงเท่านี้แหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความ