เมนู


นี้เถิด. แต่การประกอบเนื้อความ ตามลำดับบทในทุก ๆ บท ไม่ได้ทำ
ไว้เหมือนในบทวิหิงสาและอวิหิงสานี้ เพราะเกรงว่าจะเยิ่นเย้อเกินไป.

บรรยายแห่งสัลเลขธรรม


[109] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นว่า
สามารถในการดับกิเลสได้สนิทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงย้ำพระธรรม-
เทศนานั้นประกอบ (ผู้ฟัง) ในการปฏิบัติธรรม จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิติ โข จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุดังนี้แล).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺเลขปริยาโย (บรรยายแห่ง
สัลเลขธรรม) ได้แก่เหตุแห่งสัลเลขธรรม. ในทุกบทก็มีนัยนี้. กุศลธรรม
ทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นนั้นแหละ ในสัลเลขสูตรนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เหตุแห่งสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลาอกุศลธรรมมีวิหิงสา1เป็นต้น
ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งจิตตุปบาท เพราะจิตที่บุคคลพึงให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งอวิหิงสาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการหลีกไป เพราะ
เป็นเหตุแห่งการหลีกไปจากวิหิงสาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งความ
เป็นผู้สูงส่ง เพราะยังความสูงส่งให้สำเร็จ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการยังกิเลส
ให้ดับได้ เพราะยังวิหิงสาเป็นต้นให้ดับได้.
บทว่า หิเตสินา ความว่า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อนุกมฺปเกน (ผู้ทรงเอ็นดู) คือผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู.
บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย (ทรงอาศัยความเอ็นดู) คือทรง
กำหนดความเอ็นดูด้วยพระทัย มีคำอธิบายว่า ทรงอาศัย (ความเอ็นดู)
1. ปาฐะว่า อวิหึสาทีนํ เข้าใจว่า จะเป็น วิหึสาทีนํ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และฉบับพม่า
เป็น....เอว วิหึสาทีนํ.