เมนู

จึงทรงจำแนกรูปฌานและอรูปฌานไว้ และต่อไปนี้ เมื่อจะทรงแสดง
เรื่องนั้น และสัลเลขธรรมนั้นด้วยอาการ 4อย่าง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิธ โข ปน โว ดังนี้.

บาทของวิปัสสนา


[104] ก็เหตุไฉนธรรมทั้งหลาย มีอวิหิงสาเป็นต้นเท่านั้น
นอกจากสมาบัติทั้ง 8 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นสัลเลขธรรม ?
เพราะธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนาที่เป็น
โลกุตระได้.
อันที่จริง สมาบัติทั้ง 8 ของคนภายนอก (พุทธศาสนา) ทั้งหลาย
เป็นบาทของวัฏฏะ เท่านั้น. แต่ในศาสนา (พุทธ) แม้สรณคมน์
ก็พึงทราบว่า เป็นบาทของโลกุตตรธรรมได้ ตามพระสูตรนี้โดยเฉพาะ
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมทั้งหลาย มีอวิหญิงสาเป็นต้นเล่า (ที่จะเป็นไป
ไม่ได้).
อนึ่ง ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในศาสนา
(พุทธ) มีผลมากกว่าทาน ที่ให้แก่คนนอกศาสนา ที่ได้สมาบัติ 8 แม้
มีอภิญญา 5 ก็ตาม. เพราะว่าในทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ทักขิณามีผลคูณด้วยแสนโกฏิ
ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนา ผู้ปราศจากความ
ยินดีในกามทั้งหลาย. แต่ทักขิณามีผลนับไม่ถ้วน คำนวณไม่ถูก ทายก
พึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
จะกล่าวถึงทำไมสำหรับพระโสดาบัน.

ความจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในทักขิณา
วิภังคสูตรนั้น พระองค์ทรงประสงค์เอา ตั้งแต่การถึงสรณะเป็นต้นไป.
นี้เป็นการประกอบความตามพระบาลีในพระสูตรนี้ก่อน.
ส่วนในการพรรณนาความตามลำดับบท พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อิธ นี้เป็นคำแสดงเรื่องมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น.
คำว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต.
คำว่า โว เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
ก็ในคำว่า อิธ เป็นต้นนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังต่อไปนี้. ดูก่อนจุนทะ
เธอทั้งหลายควรทำการขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ ) ในเรื่องการเบียดเบียน
เป็นต้นนี้นั้น ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้
เบียดเบียนกัน . พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงขยายความให้พิสดาร จึงได้ตรัสดำมีอาทิไว้ว่า คนเหล่าอื่นจัก
เป็นผู้เบียดเบียนกัน แต่เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่อง
นี้ เธอทั้งหลายควรบำเพ็ญสัลเลขธรรมดังที่ว่ามานี้.
ในจำนวนคำเหล่านั้น คำว่า ปเร (คนเหล่าอื่น ) ได้แก่ผู้ใด
ใครก็ตาม ที่ประกอบสัลเลขธรรมนี้เนือง ๆ.
ข้อว่า วิหึสกา ภวิสฺสนฺติ (จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ) ความว่า
จักเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องเบียดเบียนทั้งหลาย เช่นด้วย
ฝ่ามือหรือด้วยก้อนดินเป็นต้น.
ข้อว่า มยเมตฺถ อวิหึสกา ภวิสฺสาม (เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้) ความว่า ส่วนเราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่

เบียดเบียนกัน ในเพราะเรื่องที่เป็นเหตุให้คนอื่นเขาเบียดเบียนกันอย่างนี้
เท่านั้น คือเราทั้งหลายจักอยู่กัน โดยไม่ให้เกิดควานเบียดเบียนกันขึ้น.
บทว่า อิติ สลฺเลโข กรณีโย (เพราะเหตุอย่างนี้ การขัดเกลา
กิเลสเป็นสิ่งที่ควรทำ) ความว่า เธอทั้งหลายควรทำสัลเลขธรรมอย่างนี้.
และการไม่เบียดเบียนกันนั่นเอง พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรมในที่นี้.
เพราะว่าการไม่เบียดเบียนกัน จะขัดเกลาคือตัดการเบียดเบียนกันได้ เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า สัลเลขะ. ในทุกข้อก็มีนัยนี้. แต่มีความแปลก
กันอย่างนี้ (คือ) ทิฏฐิในคำว่า ปเร มิจฺฉาทิฏฺฐี (คนอื่นจักเป็นผู้
มีความเห็นผิด) นี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสทิฏฐิไว้ โดยทรงรวมมิจฉาทิฏฐิ
ข้อสุดท้ายของกรรมบถ (อกุศลกรรมบถ 10) กับมิจฉาทิฏฐิข้อต้น ของ
มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) เข้าด้วยกัน. อนึ่ง สัมมาทิฏฐิในฐานะที่ตรัสไว้ว่า
เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีความเห็นถูกในเพราะเรื่องนี้ กับกรรมบถ ในคำว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตในเพราะเรื่องนี้ เป็นต้น นี้จักมี
ชัดแจ้งในสัมมาทิฏฐิสูตรโดยพิสดาร ส่วนมิจฉาทิฏฐิในมิจฉัตตะเป็นต้น
จักแจ้งชัดใน เทฺวธาวิตักกสูตร (ข้างหน้า).

กรรมบถ - มิจฉัตตะ


แต่เนื้อความ (ที่จะกล่าวต่อไป ) นี้ เป็นความสังเขปใน กรรมบถ
และมิจฉัตตะนี้.
ชนเหล่าใดยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ปาณาติปาตี อธิบายว่า เป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต.