เมนู

ปัตติมรรค มนสิการเฉพาะมนสิการเบื้องต้นเท่านั้น ที่เจือด้วยวิปัสสนา
จะมีการละและการสลัดทิ้ง ทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้ คือ ทิฏฐิเหล่านี้ ด้วยอุบาย
เพียงเท่านี้เท่านั้นได้อย่างไร ? ก็พระเถระถึงแม้ตัวท่านจะไม่มีมานะยิ่ง
(สำคัญว่า ตัวได้บรรลุมรรคผล ) แต่ก็พึงทราบว่า เป็นเสมือนผู้มีมานะ
ยิ่ง ถามปัญหานี้เพื่อละมานะยิ่ง สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้มีมานะยิ่ง.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า อันเตวาสิกทั้งหลายของพระเถระ
ที่มีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การละทิฏฐิทั้งหลายได้เด็ดขาด มีได้ด้วยมน-
สิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นก็มี ที่มีความเข้าใจว่ามีได้เพราะมีสมาบัติเป็น
วิหารธรรม คือมีธรรมะเครื่องขัดเกลา เป็นวิหารธรรมก็มี ท่านทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น.

หน้าที่ของทิฏฐิ


[ 101 ] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุบาย
สำหรับละทิฏฐิเหล่านั้นแก่ท่าน จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ยา อิมา ( ทิฏฐิ)
เหล่านี้ใดไว้. ในคำเหล่านั้นมีความพิสดารว่า คำมีอาทิว่า ยตฺถ
เจตา ทิฏฺฐิโย อุปฺปชฺชนฺติ
( ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในที่ใด) ดังนี้
พระองค์ตรัสหมายเอาเบญจขันธ์. อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นใน
เบญจขันธ์เหล่านั้น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะ
ยึดมั่นรูป เกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เราคืออัตตา และโลก ละโลกนี้ไป
แล้วจักยังมี ( เพราะว่า ) อัตตานั้น โลกนั้น เป็นของเที่ยง ยั่งยืน
ติดต่อกันไป มีความไม่แปรไปเป็นธรรมดา. แต่พระองค์ตรัสไว้เป็น
เอกพจน์ว่า ยตฺถ จ ( แปลว่า ในอารมณ์ใด ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

มีอธิบายไว้ว่า ทิฏฐิทั้งหลายเกิดขึ้นในอารมณ์ใด. อนึ่ง ในคำว่า ยตฺถ จ
เป็นต้นนี้ ควรทราบถึงทิฏฐิเหล่านี้ ทำ (หน้าที่) ต่าง ๆ กัน อย่างนี้
คือ เกิดขึ้น 1 นอนเนื่องอยู่ 1 ฟุ้งขึ้น 1 อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านี้มี
การทำ (หน้าที่) ต่างกันดังนี้ คือ ทิฏฐิทั้งหลายโดยชาติ (ของมัน)
ที่ยังไม่เกิดขึ้น.
เมื่อเกิดขึ้นพระองค์ตรัสเรียกว่า กำลังเกิดขึ้น, ที่เสพจนคุ้นบ่อยๆ
มีกำลัง ขจัดยังไม่ได้ พระองค์ตรัสเรียกว่า นอนเนื่องอยู่, ส่วนที่ประ
จวบ (ล่วงออกมาทาง ) กายทวาร และวจีทวาร พระองค์ตรัสเรียกว่า
ฟุ้งขึ้น.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ตํ เนตํ มม (สิ่งนี้นั้นไม่ใช่ของเรา)
ควรทราบอรรถาธิบายของบทอย่างนี้ก่อนว่า อารมณ์ที่แยกประเภทเป็น
เบญจขันธ์นี้นั้น ไม่ใช่ของ ๆ เรา ถึงเราก็ไม่ใช่สิ่งนั้น แม้สิ่งนั้นก็ไม่ใช่
อัตตาของเรา ภิกษุเห็นเบญจขันธ์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา
อันชอบอย่างนี้ (มีการละการสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้).
แต่เพราะในการยึดถือ 3 อย่างนี้ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหาว่านั่นของเรา ก็ชื่อว่า ยึดถือตัณหาเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นตัณหาวิปริต 108 ประการ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจมานะ
ว่า เราเป็นนั่น ชื่อว่ายึดถือมานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภทออก
เป็นนานะ 9 ประการ และเมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา ชื่อว่า ยึดถือทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นทิฏฐิ 62 ประการ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัส
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธตัณหาเครื่องเนิ่นช้า แยก

ประเภทคามที่กล่าวแล้ว เมื่อตรัสว่า เราไม่ใช่นั่น ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธ
นานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า และเมื่อตรัสว่า นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ชื่อว่า
ทรงปฏิเสธทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า. อนึ่ง ในเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ทั้ง 3 อย่างนี้ ตัณหา และมานะ พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในหมวดเดียวกัน
กับทิฏฐินั่นเอง.
บทว่า เอวเมตํ (เห็นสิ่งนั้นอย่างนี้) คือ เห็นเบญจขันธ์นั่น
โดยอาการมีอาทิว่า นั่นไม่ใช่ของเราอย่างนี้.
บทว่า ยถาภูตํ (ตามความเป็นจริง) คือ ตามสภาวะ มีคำ
อธิบายไว้ว่า ตามที่มีอยู่. อธิบายว่า ความจริง ขันธปัญจก (หมวด 5
ของขันธ์) มีอยู่โดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง แต่ขันธปัญจกที่ยึดถือโดยนัย
มีอาทิว่า ของเรา ย่อมไม่มีโดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง.
บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย (เห็นด้วยปัญญาอันชอบ) ความว่า
เห็นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาปัญญา อันนีโสดาปัตติมรรคปัญญา เป็นปริโยสาน.1
บทว่า เอวเมตาสํ (ละทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้) ได้แก่ (ละ)
ทิฏฐิเหล่านั้น ด้วยอุบายนี้. คำว่า การละการสลัดทิ้งทั้งคู่นี้ เป็นชื่อของ
การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดทีเดียว.
[102 ] พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระมหาจุนเถระ ถามปัญหา
ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีมานะยิ่งว่า การละทิฏฐิทั้งหลาย มีได้ด้วยการ
มนสิการธรรม เบื้องต้นเท่านั้น หรือมีไม่ได้ ? ครั้นทรงแสดงการละ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรคแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกฌานของผู้มีมานะ
ยิ่งด้วยพระองค์เอง จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ก็เหตุที่ตั้งแล. ผู้มีมานะยิ่ง
1. ฉบับพม่าเป็น โสตาปตฺติมคฺคปญฺญาปริโยสานาย จึงได้แปลตามนั้น.

เกิดขึ้น ด้วยสำคัญว่า ได้บรรลุแล้วในธรรมที่คนยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่า
ผู้มีมานะยิ่ง ในคำว่า อธิมานิกานํ นั้น. ก็แต่ว่า อธิมานะ (มานะยิ่ง)
นี้ เมื่อจะเกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พาลปุถุชนผู้รำลึกถึงโลกานุวัตรเนือง1
เลย และจะไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกทั้งหลาย. อธิบายว่า อธิมานะว่า
เราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน อธิมานะว่า เราเป็น
พระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี อธิมานะว่า เราเป็นพระอรหันต์
จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลส
ไว้ได้ด้วยอำนาจสมถะ หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา ผู้ปรารภวิปัสสนาแล้ว
ขะมักเขม้นเป็นนิจ. อันที่จริงการกบุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่ง
กิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา อธิมานะว่า เรา
เป็นพระโสดาบันบ้าง เราเป็นพระสกทาคามีบ้าง เราเป็นพระอนาคามีบ้าง
เราเป็นพระอรหันต์บ้าง จะเกิดขึ้น เหมือนกับพระเถระทั้งหลาย ที่ท่าน
ธรรมทินนเถระผู้อาศัยอยู่ที่ตลังครติสสบรรพต ได้ตักเตือนแล้ว.

เรื่องพระธรรมทินนเถระตักเตือนศิษย์


ได้ทราบว่า ภิกษุหลายรูป ได้ตั้งตนอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้
อุปสมบทแล้วไม่นานเลย ก็พากันบรรลุคุณวิเศษ. ภิกษุสงฆ์ชาวติสส-
มหาวิหาร
ได้ทราบพฤติกรรมนั้นแล้ว ลงความเห็นว่าพระเถรูประกอบ
ในเรื่องที่เป็นรูปไม่ได้ ท่านทั้งหลายจงนำเอาพระเถระมา แล้วได้ส่ง
ภิกษุหลายรูปไป. ภิกษุเหล่านั้นไปถึงแล้ว ได้เรียนว่า ท่านธรรมทินนะ
ครับ ภิกษุสงฆ์เรียกหาท่าน. ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน

1. ฉบับพม่าเป็น โลกานุวฏฺฏานุสารีนํ ผู้คล้อยตามและระลึกถึงเรื่องโลกบ่อยๆ.