เมนู

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า


ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีผู้ถวายบังคม จะทรง
ชูพระศอซึ่งคล้ายกับกลองทองขึ้นแล้ว ทรงเปล่งพระสุระเสียง ดุจเสียง
พระพรหม ที่เสนาะโสต เป็นที่จับใจ คล้ายกับโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤต
ตรัสระบุชื่อของผู้นั้น ๆ ว่า จงเป็นสุข ๆ เถิด ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมเนียม
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ในเรื่องนั้นมีพระสูตรที่ยกมาเป็นข้ออ้างอิงได้ ดังต่อไปนี้ (คือ
สักกปัญหสูตร) ว่า เมื่อปัญจสิขเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทพอำมาตย์ เทพบริวาร ขอถวาย
บังคมพระยุคลบาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ดูก่อน
ปัญจสิขเทพบุตร ขอให้ท้าวสักกะจอมทวยเทพพร้อมด้วยเทพอำมาตย์
พร้อมด้วยเทพบริวาร จงทรงพระเกษมสำราญ เพราะว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่น ที่มีกายหยาบ ปรารถนา
ความสุขกัน เพราะฉะนั้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
จะทรงถวายพระพรเทพเจ้าประเภทนั้น ผู้มีศักดามาก ผู้ควรบูชาดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น.
บทว่า ยา อิมา ความว่า ท่านพระจุนทะ ได้กล่าวถึงทิฏฐิที่
ต้องพูดถึง ในบัดนี้ เหมือนทำให้อยู่เฉพาะหน้า.
บทว่า อเนกวิหิตา (มีมากอย่าง) ได้แก่มีนานาประการ.
บทว่า ทิฏฺฐิโย (ทิฏฐิทั้งหลาย) ได้แก่มิจฉาทิฏฐิ.
บทว่า โลเก อุปฺปชฺชนฺติ (เกิดขึ้นในโลก) ความว่า ปรากฏอยู่
ในหมู่สัตวโลก.

บทว่า อตฺตวาทปฏิสํยุตฺตา ( ประกอบด้วยอัตตวาทะ) ความว่า
มิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ที่ประกอบด้วยอัตตวาทะ. (ปรารภตน) เป็นไปแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา มี 20 อย่าง1.
บทว่า โลกวาทปฏิสํยุตฺตา (ประกอบด้วยโลกวาทะ พูดปรารภ
โลก ) ความว่า เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง.

มิจฉาทิฏฐิ 8


มิจฉาทิฏฐิปรารภอัตตาและโลกนั้นมี 8 ประการ ที่เป็นไปแล้ว
อย่างนี้ว่า
1. อัตตาและโลกเที่ยง
2. อัตตาและโลกไม่เที่ยง
3. อัตตาและโลกเที่ยงก็ ไม่เที่ยงก็มี
4. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่
5. อัตตาและโลกมีที่สุด
6. อัตตาและโลกไม่มีที่สุด
7. อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี2
8. อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

ในคำมีอาทิว่า อาทิเมว ( เบื้องต้นนี้เท่านั้น) มีอรรถาธิบาย
อย่างนี้ว่า (พระจุนทเถระทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นอย่างเดียว คือถึงจะยังไม่บรรลุโสดา-
1. ปาฐะ เป็น พาวีสติ แต่ฉบับพม่าเป็น ตา วีสติ จึงแปลตามฉบับพม่า เพราะตรงตาม
ความจริง.
2. ฉบับของไทยขาดหายไป 1 ข้อ แต่ฉบับพม่ามีครบ จึงได้เติมตามนั้น.