เมนู

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม


อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรม
วินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วพึง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่. ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรม
ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัย
ของพระอริยะ.

สัลเลขธรรม


[104] ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลา
กิเลสในพุทธศาสนานี้แล คือเธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชน
เหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
เบียดเบียนกัน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ล่าสัตว์
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลัก
ทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพ
เมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ใน

ข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำ
เพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็ง
ภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.
เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความ
พยายามผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก.
เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะ
กลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกร.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ใน
ข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมายา
(เจ้าเล่ห์) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง ในข้อนี้
เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจัดมีมิตรชั่ว
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอต-
ตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะ
น้อย (ด้อยการศึกษา) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (คง
แก่เรียน ).
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้
เกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติ
หลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญา
ทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำ

ทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้ยาก ในข้อนี้
เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง
และสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย.

[105] ดูก่อนจุนทะ แม้จิตตุปบาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เรา
ตถาคตยังกล่าวว่า มีอุปการะมาก จะกล่าวไปไยในการจัดแจงด้วยกาย
ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ เธอทั้งหลายควรให้จิตเกิด
ขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้น
จากปาณาติบาต ฯลฯ.
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง
และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำ
ทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยง่าย.

[106] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมี
ทางอื่นที่ราบเรียบ ไว้สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบ
เหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมีท่าที่ราบเรียบ ไว้สำหรับหลีกท่าที่ไม่
ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นแล มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยง
บุคคลผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่า
สัตว์.

การเว้นจากอทินนาทาน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลัก
ทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพ
เมถุน.
การเว้นจากมุสาวาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
การเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูด
ส่อเสียด.
การเว้นจากผรุสวาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดคำหยาบ.
การเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้พูด
เพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มัก
เพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงผู้มีวาจาผิด.
การงานถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีพถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด.
ความพยายามถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความ
พยายามผิด.

ความระลึกถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่น
ผิด.
ความรู้ถูก มีไว้สำหรับหลีกเลียงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
ความหลุดพ้นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความหลุด
พ้นผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคล
ผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความไม่รู้ฟุ้งซ่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคล
ผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่เข้าไปผูกโกรธ มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้มักเข้า
ไปผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้มักลบหลู่
คุณท่าน.
การไม่ตีเสมอเขา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.
ความไม่ริษยา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.

ความไม่มีมารยา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อดึง.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรเลว.
ความไม่ประมาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอายต่อบาป มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่ละอาย
ต่อบาป (ไม่มีหิริ).
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มี
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป (ไม่มีโอตตัปปะ).
ความเป็นพหูสูต มีไว้สำหรับหลีเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับ
(ศึกษา) น้อย.
การปรารภความเพียร มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติ
หลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และความ
สลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำ

ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก.
[107] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็น
เหตุให้ถึงภาวะเบื้องต่ำ (ส่วน) กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึง
ภาวะเบื้องสูงฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีไว้
เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้
ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้
ลักทรัพย์ ฯลฯ.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และให้สลัด
ทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสำหรับภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้ลูบคลำ
ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และที่สลัดคืนได้โดยยาก.
[108] ดูก่อนจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในปลักอันลึกแล้ว
จักยกขั้นซึ่งบุคคลอื่น ที่จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมี
ไม่ได้.
ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในปลักอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่น ที่ไม่
จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกตน ยังไม่ได้แนะนำตน ยังดับกิเลสไม่ได้ด้วย
ตน จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่จะมีไม่ได้.

ผู้ที่ฝึกตนเองแล้ว แนะนำตนเองแล้ว ดับกิเลสได้ด้วยตนเอง
แล้วจักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีได้ฉันใด.
ดูก่อนจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อม
มีไว้สำหรับดับกิเลสของผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้
ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เสพ
เมถุนธรรม.
การงดเว้นจากมุสาวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
ส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
คำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
เพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง
ความไม่พยาบาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.

ความดำริถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การเจรจาถูก มีความเพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวาจาผิด
การงานถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีการงานผิด
การเลี้ยงชีวิตถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เลี้ยงชีวิตผิด.
ความพยายามถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความพยายาม
ผิด.
ความระลึกถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติผิด.
ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่น
ผิด.
ความรู้ถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีญาณผิด.
ความหลุดพ้นลูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวิมุติผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ถูก
ถีนมิทธะครอบงำ.
ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มี
ความสงสัย.
ความไม่โกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่ผูกโกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักลบหลู่

คุณท่าน.
ความไม่ตีเสมอ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.
ความไม่ริษยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความริษยา.
ความไม่โอ้อวด มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สำหรับกิเลสของบุคคลผู้ดื้อดึง.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สำหรับของกิเลสของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีบาป-
มิตร.
ความไม่ประมาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความประมาท.
ความเชื่อ มีไว้เพื่อดับกิเลสของผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มีหิริ.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มี
โอตตัปปะ.
ความเป็นพหูสูต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสุตะ ( การ
ศึกษา) น้อย.
การปรารภความเพียร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติมั่น มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และการสลัด
ทิ้งได้โดยง่ายดาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน
ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งได้โดยยาก.

[109] ดูก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้ว
เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดง
แล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์
เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้เอ็นดู
อนุเคราะห์เหล่าสาวกควรทำกิจนั้น เราตถาคตได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูก่อนจุนทะ นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด อย่า
ประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอน
สำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหา
จุนทะ
ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรม 44 บท ทรงแสดงสนธิ
5 อย่างไว้ พระสูตรนี้มีนามว่า สัลเลขสูตร เป็นพระสูตรที่ลึกซึ้ง
เทียบด้วยสาครก็ปานกันฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตรที่ 8

อรรถกถาสัลเลขสูตร


[100] สัลเลขสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ (พระสูตรนี้
ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาจุนทะ เป็นนามของพระเถระ
รูปนั้น.
บทว่า สายณฺหสมยํ ( ในสายัณหสมัย) คือในเพลาเย็น.
ที่หลบหลีก คือแอบหลบออกจากสัตว์และสังขารทั้งหลายเหล่านั้นๆ
ชื่อว่า ที่ซ่อนเร้น ในคำว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต (ออกจากที่ซ่อนเร้น)
นี้ มีคำอธิบายไว้ว่า ได้แก่ความโดดเดี่ยว คือ ความสงัด. ผู้ที่ออก
จากที่นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ออกจากที่เร้น. แต่ท่านจุนทเถระนี้ เพราะ
ออกจากผลสมาบัติที่สูงสุด กว่าการหลีกเร้น (ธรรมดา) เพราะฉะนั้น
ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวว่า ออกจากที่เร้นแล้ว.
บทว่า ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา (ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว) ความว่า ครั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยเศียรเกล้า
ประกอบกับการยกมือครบทั้ง 10 นิ้วขึ้นประณมแล้ว หรือครั้นถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระดำรัสอย่างนี้ว่า จงเป็น
สุข ๆ เถิด จุนทะ.