เมนู

อรรถกถาอากังเขยยสูตร


[73] อากังเขยยสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้า
ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า ความถึง
พร้อม มี 3 อย่าง คือ ความบริบูรณ์ ความพรั่งพร้อม และความ
หวาน.

ความถึงพร้อม 3 อย่าง


บรรดาความถึงพร้อมทั้ง 3 อย่างนั้น ความถึงพร้อมที่มาแล้วว่า
ดูก่อนโกสิยะ นกแขกเต้าทั้งหลาย ย่อมบริโภครวง
ข้าวสาลีที่สมบูรณ์แล้ว ดูก่อนพราหมณ์ เราขอบอก
ท่านว่า เราไม่สามารถห้ามนกแขกเต้านั้นได้ ดังนี้

นี้ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์.
ความถึงพร้อมนี้ว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้า
ไปใกล้แล้ว เข้าไปใกล้พร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว สมบูรณ์แล้ว ประกอบ
แล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ดังนี้ ชื่อว่าความถึงพร้อมคือการ
พรั่งพร้อม.
ความถึงพร้อมนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นต่ำสุดแห่งมหาปฐพีนี้
มีรสหวาน น่าชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีโทษ (ขี้ง้วน) เจือปน
ฉะนั้น ดังนี้ ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความหวาน.

แต่ในสูตรนี้ควรได้แก่ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์บ้าง ความ
ถึงพร้อมคือความพรั่งพร้อมบ้าง เพราะฉะนั้น ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา
พึงทราบความอย่างนี้ว่า
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ดังนี้บ้าง เป็น
ผู้พรั่งพร้อมด้วยศีล ดังนี้บ้าง.

ความหมายของศีล


บทว่า สีลํ ความว่า ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร. ที่ชื่อ
ว่าศีลเพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ.
ข้อความโดยพิสดารของบทว่าศีลนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์
วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรค. แม้ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยอรรถ
นี้ว่า ปริปุณฺณสีลา นี้เป็นอันได้กล่าวความบริบูรณ์ของศีลไว้แล้ว เพราะ
ปราศจากโทษของศีล เหมือนท่านกล่าวความบริบูรณ์ของนาไว้ เพราะ
ปราศจากโทษของนาฉะนั้น.

โทษของนา 4


เหมือนอย่างว่า นาที่ประกอบด้วยโทษ 4 อย่าง คือพืชเสีย 1
การหว่านไม่ดี 1 น้ำไม่ดี 1 ที่ดินไม่ดี 1 ย่อมเป็นนาที่บริบูรณ์ไม่ได้.
บรรดาโทษ 4 อย่างนั้น พืชที่หัก หรือเน่าในระหว่าง ๆ มีอยู่
ในนาใด นานั้นชื่อว่านามีพืชเสีย.
ชนทั้งหลายหว่านพืชเหล่านั้นลงในนาใด ข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้น
ในนานั้น นาก็จัดว่าเป็นนาที่เสีย.
ชาวนาผู้ไม่ฉลาด เมื่อหว่านพืช ย่อมหว่านให้ตกไปเป็นหย่อม ๆ