เมนู

โกรธเคืองและความน้อยใจ ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน) นี้ ควรทราบอรรถา.
ธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ความขุ่นเคือง ที่สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
ด้วย ความน้อยใจที่สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ด้วย ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน
และคำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น แต่ความโลภ
ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเป็นส่วนเบื้องต้นของกิเลสเพียงดังเนินนี้. ส่วน
โมหะเป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน ด้วยสามารถแห่งการประกอบเข้าด้วย
กัน ( กับโลภะ ) แล้ว .
[59] บทว่า อนุรโห มํ (ควรฟ้องเราในที่ลับ) มีเนื้อความ
ว่า ภิกษุเช่นกับรูปแรก (ที่ต้องอาบัติ ) ปรารถนาให้ภิกษุทั้งหลายพา
ตนเข้าไปสู่เสนาสนะท้ายวิหารปิดประตู แล้วจึงฟ้อง.
บทว่า ฐานํ โข ปเนตํ ( ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุ) หมายความว่า
เหตุนี้มีได้ คือภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ แล้วควรเอาภิกษุนั้น
ไปสู่ท่ามกลางบริษัท 4 แล้วจึงฟ้องโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทำเวชกรรม
ในที่ชื่อโน้น. ส่วนข้อความว่า เธอจะเป็นผู้ปรากฏในบริษัท 4 จะปรากฏ
อย่างนี้ด้วย ถูกความเสื่อมยศครอบงำแล้วด้วย ทั้งหมดเหมือนกับข้อ
ความในตอนต้นนั่นแหละ.

คนผู้เท่าเทียมกัน


[60] บทว่า สปฺปฏิปุคฺคโล (คนผู้เท่าเทียมกัน) คือคนตรง
กันข้ามที่เท่าเทียม.
คำว่า เท่าเทียมกัน คือต้องอาบัติเหมือนกัน.
คำว่า คนตรงกันข้าม คือผู้เป็นโจทก์. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้อง