เมนู

อรรถกถาอนังคณสูตร


[ 53 ] อนังคณสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้า (พระอานนท์)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร . . .

การขยายความ (เฉพาะ) บทที่ยาก ในพระสูตรนั้น และใน
พระสูตรทุกสูตรก็จะเหมือนในพระสูตรนี้ เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไป
ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเฉพาะเท่านี้ แต่จะทำการขยายบทที่ไม่เคยขยายความ
มาก่อนด้วย.
[ 54 ] บทว่า จตฺตาโร เป็นการกำหนดนับ. บทว่า ปุคฺคลา
ได้แก่สัตว์ ผู้คน และบุรุษ. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ( บุคคล ) ไม่ควร
ถือว่า พระมหาเถระ ( สารีบุตร) มีปกติกล่าวนิยมบุคคล (พวก
บุคคลนิยม ) เพราะท่านผู้นี้ประเสริฐที่สุดในบรรดาพระสาวกผู้เป็น
พุทธบุตรทั้งหลาย ท่านเทศนาไม่ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
เลย.

เทศนา 2


พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี 2 อย่าง คือ
สมมติเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับสมมติ ) 1 ปรมัตถเทศนา ( เทศนา
เกี่ยวกับปรมัตถ์) 1.
ในจำนวนเทศนาทั้ง 2 อย่างนั้น สมมติเทศนา มีรูปความอย่าง
นี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร เป็นต้น.

ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อันตตา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.
ในจำนวนเทศนาทั้ง 2 อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
สมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนย ผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่อง
สมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณ
วิเศษได้ ส่วนคนเหล่าใด ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้ว
เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้ พระองค์
ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.

เปรียบเทียบความ


ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาทั้ง 2 อย่างนั้น มีข้อเปรียบเทียบ
ดังต่อไปนี้. อุปมาเหมือนอาจารย์ผู้บรรยายไตรเพท รู้ภาษาถิ่น เมื่อ
พูดภาษาทมิฬ นักเรียนพวกใดเข้าใจความหมาย ก็จะบอกเขาเหล่านั้น
ด้วยภาษาทมิฬ. แต่ถ้าพวกใดเข้าใจความหมายด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง
ในจำนวนภาษาทั้งหลาย มีภาษาอันธกะ เป็นต้น ก็จะบอกเขาเหล่านั้น
ด้วยภาษานั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น มาณพน้อย (นักเรียน) เหล่านั้น
ได้อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด หลักแหลม จะเรียนศิลปะได้เร็วทีเดียว ฉันใด.
ในข้ออุปไมยนั้น ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทราบว่าเหมือน
อาจารย์ พระไตรปิฎกที่อยู่ในภาวะที่จะต้องทรงสอนเหมือนไตรเพท
พระปรีชาฉลาดในสมมติ และปรมัตถ์ เหมือนความฉลาดในภาษาถิ่น
เวไนยสัตว์ผู้สามารถแทงตลอดด้วยสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนา1 เหมือน
1. ปาฐะ แยกกันเป็น สมฺมติ ปรมตฺถ เทสนา ปฏิวิชฺฌนสมตฺถา เข้าใจว่าคงจะติดกัน และ
ฉบับพม่าก็ติดกัน จึงได้แปลเช่นนั้น.