เมนู

อุปมาด้วยช่างทำรถ


[72] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะ
ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านพระสารีบุตรขอรับ
อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่กระผม ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ท่านพระ
มหาโมคคัลลานะ
อุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด.
ม. ท่านขอรับ สมัยกาลครั้งหนึ่ง กระผมอยู่ ณ กรุงราชคฤห์
อันเป็นคอกเขา1. ครั้งนั้น เวลาเช้า กระผมนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต. ก็สมัยนั้น บุตรนายช่างทำรถชื่อ
สมีติ ถากกงรถอยู่ อาชีวกชื่อปัณฑุบุตร เป็นบุตรช่างทำรถเก่าเข้าไป
ยืนอยู่ใกล้นายสมีตินั้น ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า
เกิดความดำริในใจอย่างนี้ว่า กระไรหนอ บุตรช่างทำรถนี้ พึงถากส่วน
โค้ง ส่วนคด กะพี้ และปมตรงนี้แห่งกงนี้ออกเสีย. เมื่อเป็นเช่นนี้ กง
นี้ก็จะสิ้นโค้ง สิ้นคด สิ้นกะพี้และปม พึงเหลือแก่นล้วน ๆ. อาชีวก-
ปัณฑุบุตร
บุตรช่างทำรถเก่า มีความดำริในใจ ฉันใด ๆ นายสมีติ
บุตรช่างทำรถก็ถากส่วนที่โค้ง ที่คด กะพี้ และปมแห่งกงนั้น ฉันนั้น ๆ.
ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า ดีใจ เปล่งวาจาแสดง
ความดีใจว่า นายสมีติบุตรช่างทำรถ ถากเหมือนจะรู้ใจด้วยใจ ฉันใด.
ท่านขอรับ บุคคลทั้งหลายก็ฉันนั้น ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ต้องการจะเลี้ยง
ชีวิต ไม่ออกบวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธา เป็นคนมักโอ้อวด เจ้ามารยา
หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า พูดจาเลอะเทอะ
ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ
1. คือมีเขาล้อมเป็นคอก.

ความเพียร ไม่มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ ไม่มีความเคารพแรงกล้าใน
สิกขา เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระใน
ความสงัด เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม มีสติฟั่นเฟือน ไม่มี
สัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีปัญญาทราม เป็นดังคนใบ้
ท่านพระสารีบุตรเหมือนจะรู้ใจของบุคคลเหล่านั้นด้วยใจ แล้วถากอยู่ด้วย
ธรรมปริยายนี้.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็น
คนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือคน ไม่กลับกลอก
ไม่ปากกล้า ไม่พูดจาเลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มี
ความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระ
ในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัดปรารภความเพียร มีตนส่งไป
มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
ดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้ว
เหมือนหนึ่งว่า จะดื่ม จะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่าน
พระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้
ตั้งอยู่ในกุศล.
เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษ ที่กำลังสาวกำลังหนุ่ม ชอบแต่งตัว
ชำระสระเกล้าแล้ว ได้ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลำดวนแล้ว
ประคองด้วยมือทั้ง 2 ยกขึ้นตั้งไว้บนเศียรเกล้า ฉันใด กุลบุตรทั้งหลาย
ก็ฉันนั้น มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา
ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า พูดจา

เลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ
ประกอบควานเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรง
กล้าในสิกขา ไม่เป็นคนมักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย
เป็นหัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น
มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้
กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้ว เหมือนหนึ่ง
ว่า จะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตร
ผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล
ดังนี้.
พระมหานาคทั้ง 2 นั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตแห่งกันและกัน ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบ อนังคณสูตรที่ 5

อรรถกถาอนังคณสูตร


[ 53 ] อนังคณสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้า (พระอานนท์)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร . . .

การขยายความ (เฉพาะ) บทที่ยาก ในพระสูตรนั้น และใน
พระสูตรทุกสูตรก็จะเหมือนในพระสูตรนี้ เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไป
ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเฉพาะเท่านี้ แต่จะทำการขยายบทที่ไม่เคยขยายความ
มาก่อนด้วย.
[ 54 ] บทว่า จตฺตาโร เป็นการกำหนดนับ. บทว่า ปุคฺคลา
ได้แก่สัตว์ ผู้คน และบุรุษ. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ( บุคคล ) ไม่ควร
ถือว่า พระมหาเถระ ( สารีบุตร) มีปกติกล่าวนิยมบุคคล (พวก
บุคคลนิยม ) เพราะท่านผู้นี้ประเสริฐที่สุดในบรรดาพระสาวกผู้เป็น
พุทธบุตรทั้งหลาย ท่านเทศนาไม่ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
เลย.

เทศนา 2


พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี 2 อย่าง คือ
สมมติเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับสมมติ ) 1 ปรมัตถเทศนา ( เทศนา
เกี่ยวกับปรมัตถ์) 1.
ในจำนวนเทศนาทั้ง 2 อย่างนั้น สมมติเทศนา มีรูปความอย่าง
นี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร เป็นต้น.