เมนู

มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่น
ที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้น
ให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.
อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอวํ ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.
เมื่อกล่าวว่า เม สุตํ ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอกํ
สมยํ
ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึง
เทสกสมบัติ.

ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา


คำว่า อุกฺกา ในคำว่า อุกฺกฏฺฐายํ วิหรติ นี้ หมายเอาดวง
ประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชู
คบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดี
อย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุด
ประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺ-
ฐายํ"
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็น
คำแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัด
เปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระ
อริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการ
ประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง 4) คือ
ยืน เดิน นั่ง และนอน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนิน
ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก
อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้
เป็นไปมิให้ทรุดโทรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ดังนี้.

ที่มาของป่าสุภควัน


ในบทว่า สุภควเน นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. ป่าชื่อว่า
สุภคะ เพราะถึงความงาม อธิบายว่า เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่
พึงประสงค์สวยงาม. ก็เพราะความสวยงามของป่านั้น ผู้คนทั้งหลายจึง
พากัน ถือเอาข้าวและน้ำเป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นสนุกสนานอยู่ในป่านั้น
นั่นแลตลอดทั้งวัน และปรารถนาสิ่งที่เขาปรารถนาดี ๆ ในที่นั้นว่า
ขอเราทั้งหลายจงได้ลูกชายลูกหญิงเถิด และสิ่งที่พึงปรารถนานั้นเขาก็ได้
สมปรารถนาทีเดียว ป่านั้นชื่อว่า สุภคะ เพราะสง่างาม และเพราะมี
สิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม ดังพรรณนามานี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สุภคะ
แม้เพราะคนส่วนมากติดใจ ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์
ทั้งหลายชอบใจ คือทำให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเอง
อธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่า
เหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่
เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่
ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้
กันเถิด. ป่านั้นด้วย ถึงความงามด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า สุภควัน. ใน
ป่าสุภควันนั้น. ธรรมดาป่า มี 2 ชนิด คือ ป่าลูก และป่าเกิดเอง.