เมนู

ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล. คำว่า สรณะ
นั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่า ขจัดซึ่งภัย
ของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูลและถอย
กลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร
คือภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะ
ทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น
พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยบรรยายนี้ด้วย.
จิตตุปบาท (ความเกิดความคิดขึ้น) ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วย
ความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้น อันเป็นไปโดยอาการที่มีความ
เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.
สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ. อธิบายว่า
ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง 3 เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) ว่าเป็น
ปรายนะ (เครื่องนำทาง) ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. นักศึกษา
พึงทราบ สรณะ การถึงสรณะ และผู้ถึงสรณะ ทั้ง 3 อย่างนี้ก่อน.

ประเภทแห่งการถึงสรณะ


ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท)
พึงทราบอธิบายต่อไป. การถึงสรณะมี 2 คือ การถึงสรณะที่เป็น
โลกุตตระ 1 การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ 1. ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะ
ที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะ

ตัดขาดกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะได้ในขณะแห่งมรรค. (ส่วน)
การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณ
เป็นต้นเป็นอารมณ์ สำเร็จได้ด้วยการข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึง
สรณะไว้ได้. การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่ การได้
ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธา
(ในพระรัตนตรัยนั้น) เป็นพื้นฐานท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม (การ
ทำความเห็นให้ตรง ) ( ซึ่งอยู่ ) ในบุญกิริยาวัตถุ 10.
การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ 4 อย่างคือ (การถึง) ด้วยการมอบ
ตน 1 ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง 1 ด้วยการยอมเป็น
ศิษย์ 1 ด้วยการถวายมือ ( การประนมมือทำความเคารพ) 1.
ใน 4 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การมอบตน ได้แก่ การยอมสละตน
แด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการกล่าว ) อย่างนี้ว่า
นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระ
ธรรม และแด่พระสงฆ์.
ที่ชื่อว่า การมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่ การที่มี
พระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระ
พุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้
นำทาง.
ที่ชื่อว่า การถวายมือ ได้แก่ การทำความนอบน้อมอย่างสูงใน
พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการ
กราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทำความนอบน้อมแด่พระ
รัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง 4
อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบคน ( ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอสละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ) แต่
พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอสละชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม
(และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละคนแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
แด่พระธรรม ( และ) แด่พระสงฆ์ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียวแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
(พระธรรมและพระสงฆ์) ว่าเป็นสรณะ โดยขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ขอพระพุทธเจ้า ( พระธรรมและพระสงฆ์ ) จงเป็นที่ระลึกที่พึ่ง เป็นที่
อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า.
พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ (การยอมตัวเป็นศิษย์ ) เหมือน
การเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะ (ด้วยการ
พูด) แม้อย่างนี้ว่า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระศาสดา พึงได้พบพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสุคต พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พึงทราบความที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง (เป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น
( ด้วยการพูด ) แม้อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากหมู่บ้าน (นี้) สู่หมู่บ้าน
(โน้น) จากเมือง (นี้ ) สู่เมือง (โน้น) (เพื่อ)
นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรม
ที่ดีแห่งพระธรรม (และความเป็นสงฆ์ที่ดีแห่งพระ-
สงฆ์).

พึงเห็นการพนมมือไหว้ แม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ
พรหมายุ ลุกขึ้นจากที่นั่งทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบ
พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือแล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อ พรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์
เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ.
ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ 4 อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติ
เพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.
บรรดาการพนมมือไหว้ 4 อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการพนมมือไหว้
เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ 3 อย่างนอกจากนี้.
เพราะว่า สรณะอันบุคคลย่อมรับได้ด้วยบุคคลผู้ประเสริฐสุด จะ
หมดสภาพไป (กำหมด ) ด้วยอำนาจบุคคลผู้ประเสริฐสุดเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวาย
บังคม (พระพุทธเจ้า ) ด้วยสำคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเรา
ทั้งหลาย บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย. หรือว่าบุคคลใดถวาย
บังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชา

บูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เรา
ได้ บุคคลนั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน. แม้บุคคลใคร่ระลึกถึง
คำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่
พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือในพุทธกาลได้เรียนคำสอนทำนอง
นี้ว่า
บุคคลควรใช้สอย เลี้ยงชีวิตด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง
ลงทุนทำงานด้วยทรัพย์สองส่วน และส่วนที่สี่ควร
เก็บไว้ (เพราะมันจะอำนวยประโยชน์ได้) เมื่อคราว
มีความจำเป็นต้องใช้

(เกิดความเลื่อมใส) ถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็น
พระอาจารย์ของเรา บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังไม่ได้รับสรณะเหมือนกัน.
ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น
อัครทักขิไณยบุคคลในโลก บุคคลนั้นแลจัดว่าได้รับสรณะแล้ว. อุบาสก
หรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้วจะไหว้ญาติแน้ที่บวชในสำนักอัญญ-
เดียรถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ การถึงสรณะ
ก็ยังไม่หมดสภาพไป (ไม่เสีย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลหรืออุบาสิกา
ผู้ไหว้ญาติที่ยังไม่บวชเล่า.
สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือ
ถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่
ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทำความเสียหาย
ให้แก่เราไค้ ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ยังไม่เสีย ) เหมือน

เมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยคิดว่า
ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะ ก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้น
นักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล.
ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล 4 เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นอานิสงสผล. สมด้วยพระดำรัสที่พระ
พุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ก็บุคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็น
อริยสัจ 4 ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์
เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรค
มีองค์ 8 ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ
(ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจังจะเป็นสรณะอันเกษม
เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคล
จึงหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่นแม้ด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีการไม่เข้าไปยึดถือ โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น .
สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (เป็นไปไม่ได้เลย )
ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่า เที่ยง
ว่า เป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไร ๆ ว่า เป็นอัตตา จะพึงปลง
ชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็น

ผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้าง
ศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้.
ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผล
เหมือนกัน. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะจักไม่ไปสู่อบาย-
ภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์
ให้บริบูรณ์ ( เกิดในหมู่เทพ).

แม้เรื่องอื่นท่านก็กล่าวไว้. ( คือ) คราวครั้งนั้นแล ห้าวสักกะ
จอมเทพ
พร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ.
พระมหาโมคคัลลานะ
ได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ
ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การ
ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่า
เป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ( เกิดเป็นเทวดาแล้ว ) ย่อมเด่น
ล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ 10 คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอัน
เป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์
รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์
โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์. ใน ( การถึง) พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ก็นัยนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้
ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น . พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะ
อย่างนี้.

ในการถึงสรณะ 2 อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้า.
หมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัย และความรู้ ( ความเข้าใจ)
ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรื่องมาก
ไม่กว้างไกลมาก. (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้า-
หมอง.
การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ 2 อย่างคือ การหมด
สภาพ (เภโท) แบบมีโทษ 1 การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ 1. ในการ
หมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย
มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่า
ปรารถนา. การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การ
หมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก. แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ
ไม่มีการหมดสภาพเลย. จริงอยู่ พระอริยสาวก (คายแล้วไปเกิด )
แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา ( แทนพระพุทธเจ้า).
พึงทราบความเศร้าหมอง และการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนา
นาฉะนี้.

อุบาสก


บทว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธาเรตุ ความว่า ขอพระโคดม
ผู้เจริญจงจำ อธิบายว่า จงรู้จักข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก.
ก็ในที่นี้เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสกจึงควรทราบ
ข้อปลีกย่อยนี้ว่า อุบาสกคือใคร ? เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ?