เมนู

รู้อยู่ ). ความแปลกกันมีอยู่เท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลยทีเดียว.
ก็ในกถานี้ บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา คือทิพยจักษุญาณ.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่อวิชชาที่ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์
ทั้งหลาย. คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วทีเดียว.
ก็เพราะเหตุที่พระมหาสัตว์ทั้งหลายได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว จึงไม่มี
ความจำเป็นต้องทำบริกรรม เพราะว่าท่านเหล่านั้นพอน้อมจิตไปเท่านั้น
ก็จะระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้มากมาย จะเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยทิพยจักษุ ฉะนั้น วิธีเจริญวิชชาเหล่านั้นเริ่มต้นตั้งแต่ทำบริกรรม
ที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น จึงไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงไว้
ในที่นี้.

กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ


[50] ในวิชชาที่ 3 พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า โส เอวํ สนาหิเต จิตฺเต เราตถาคตนั้น เมื่อจิต
ตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว จิตที่ตั้งมั่นพึงทราบว่า คือจตุตถฌานอันเป็นพื้นฐาน
สำหรับเจริญวิปัสสนา.
บทว่า อาสวานํ ขยญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่อรหัตต-
มรรคญาณ. แท้จริงอรหัตตมรรคเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศ และญาณนี้ย่อมมีในอรหัตตมรรคนั้น
เพราะนับเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น
สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสึ คือน้อมจิตที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา
ไป.