เมนู

หลายคนได้ ดังนี้แล้วทำอภิญญาให้บังเกิด สำหรับฌานลาภีบุคคล
เหล่านั้นฌานย่อมเป็นบาทแห่งอญิญญา.
ส่วนพระอริยบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า
นิโรธสมาบัติได้คิดว่า เราจักบรรลุนิโรธ คือนิพพานในปัจจุบันอยู่เป็นสุข
โดยไม่มีจิตสังขารตลอด 7 วัน ดังนี้แล้วทำสมาบัติให้บังเกิด ฌานของ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเข้านิโรธ.
ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิดได้แล้วคิดว่า
เราจักเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมเกิดในพรหมโลก ดังนี้ ทำสมาบัติให้บังเกิด
(อย่างนี้) ฌานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีการก้าวลงสู่ภพเป็นผล.
ก็จตุตถฌานนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำให้บังเกิดแล้วที่ควงโพธิ์
พฤกษ์ จตุตถฌานนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้เป็นบาทแห่งการ
เจริญวิปัสสนา เป็นบาทแห่งการได้อภิญญาและให้สำเร็จกิจทุกอย่าง จึง
พึงทราบว่า อำนวยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระให้ได้ทุกอย่าง. และ
จตุตถฌานนั้นได้อำนวยคุณเหล่าใดให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดง
เพียงบางส่วน (เอกเทศ ) แห่งคุณเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า โส เอวํ
สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ


วิชชา 2 ในพระสูตรนั้น (คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณและจุตูปปาต-
ญาณ) มีการพรรณนาไปตามลำดับบทและวิธีเจริญได้กล่าวไว้แล้วอย่าง
พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แท้จริงในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับในที่นี้มี
ความแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้นดังนี้ คือในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวบท

กิริยาไว้ว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ฯ เป ฯ อภินินฺนาเมติ (แต่)
ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทกิริยาไว้ว่า อภินินฺนาเมสึ. และวาระ
ว่าด้วยอัปปนาอย่างนี้ว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ ก้มิได้มาในคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ โส อหํ เราตถาคตนั้น .
บทว่า อภินินฺนาเมสึ แปลว่า นำไปเฉพาะ. เพราะพระดำรัสว่า
อภินินฺนาเมสึ ในคำว่า โส นี้ จึงพึงทราบความหมายอย่างนี้ว่า โส อหํ
เราตถาคตนั้น.
ก็เพราะเหตุที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้มาแล้วด้วยอำนาจของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ฉะนั้น จึงพึงทราบการประกอบควานอย่างนี้ในคำนี้ว่า
เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้วมาอุบัติในภพนี้. ในคำนี้พึงทราบ
(อธิบายเพิ่มเติมอีก) ว่า คำว่า เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้ว เป็น
การพิจารณาของพระโพธิสัตว์ผู้พิจารณาย้อนกลับ เพราะฉะนั้น พึงทราบ
ความว่า ในคำว่า อิธูปปนฺโน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภพ
ดุสิตว่า เราตถาคตอุบัติในภพดุสิตโน้นก่อนจะมาอุบัติในภพนี้.
บทว่า ตตฺราปาสึ เอวํนาโม ความว่า ในภพดุสิตแม้นั้น เรา
ตถาคตได้เป็นเทพบุตรนามว่า เสตเกตุ.
บทว่า เอวํโคตฺโต คือมีโคตรเดียวกับเทวดาเหล่านั้น.
บทว่า เอวํวณฺโณ คือมีผิวพรรณผุดผ่องดังทองคำ.
บทว่า เอวนาหาโร คือมีทิพพสุธาหาร.
บทว่า เอวํ สุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า เป็นผู้มีปกติเสวยทิพยสุข
อย่างนี้ ส่วนทุกข์มีเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.

บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า มีอายุ 57 โกฏิ 6 ล้านปี.
บทว่า โส ตโต จุโต ความว่า ตถาคตนั้นจุติจากภพนั้น คือ
ภพดุสิต.
บทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า บังเกิดในภพนี้ คือในพระครรภ์
พระนางสิริมหามายาเทวี.
บทว่า เม ในคำว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น คือ มยา.
บทว่า วิชฺชา ความว่า ที่ชื่อว่า วิชฺชา เพราะหมายความว่า
กระทำให้รู้แจ้ง.
ถามว่า วิชชาทำให้รู้แจ้งซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งขันธ์ ( ภพ ) ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อน.
บทว่า อวิชฺชา ความว่า เพราะหมายความว่าไม่ทำให้รู้แจ้งซึ่งขันธ์
ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน อวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า โมหะ
(ความหลง) ซึ่งปกปิดขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนนั้น.
บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ว่า ตมะ ( ความมืด ) เพราะหมายความว่าปกปิด.
บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า อาโลกะ ( แสงสว่าง ) เพราะหมายความว่าทำแสงสว่างให้.
ก็ในพระดำรัสที่ตรัสมานี้ย่อมมีความหมายดังนี้ว่า วิชฺชา อธิคตา
แปลว่า วิชชาตถาคตได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเป็นคำกล่าวสรรเสริญ.
อนึ่ง ในพระดำรัสตอนนี้มีการประกอบความดังนี้ว่า วิชชานี้แลเราตถาคต
ได้บรรลุแล้ว เมื่อเราตถาคตนั้นได้บรรลุวิชชาแล้ว อวิชชาจึงถูกขจัด
อธิบายว่า พินาศไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร อวิชชาจึงพินาศไป ?
ตอบว่า เพราะวิชชาเกิดขึ้น.
แม้ในสองบทนอกนี้ก็นัยนี้.
บทว่า ยถา ในคำว่า ยถาตํ ใช้ในความหมายว่า อุปมา
(เปรียบเทียบ).
บทว่า ตํ เป็นนิบาต. บุคคลชื่อว่าไม่ประมาท เพราะความไม่อยู่
ปราศจากสติ ชื่อว่ามีความเพียรเครื่องเผากิเลสด้วยธรรมเครื่องทำกิเลสให้
เร่าร้อนทั่วคือวิริยะ ชื่อว่า มีตน (จิต ) อันส่งไปแล้ว เพราะไม่มีความ
ห่วงใยในร่างกายและชีวิต.
บทว่า ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีตนอันส่งไปแล้ว. มีอธิบาย
(เพิ่มเติม) ดังนี้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีตนส่งไปอยู่ อวิชชาพึงถูกกำจัด วิชชาพึงเกิดขึ้น ความมืดพึง
ถูกกำจัด แสงสว่างพึงเกิดขึ้นฉันใด สำหรับเราตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อวิชชาถูกขจัดแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น ความมืดถูกขจัดแล้ว แสงสว่าง
ก็เกิดขึ้น เราตถาคตได้ผลที่สมควรกับการบำเพ็ญเพียรนั้น.
กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณจบ.

กถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณ


[49] ในกถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ บาลีมาแล้วด้วยอำนาจพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสฺสามิ ปชานามิ (เราตถาคตเห็นอยู่