เมนู

ความสุข (อื่น) ที่ยิ่งไปกว่าความสุขที่เกิดจากผลสมาบัตินั้น. สมด้วย
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สมาธินี้อำนวยความสุขที่เป็น
ปัจจุบันให้และยังมีความสุขเป็นวิบากต่อไป.

ปฏิปทาเครื่องบรรลุอสัมโมหวิหาร


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงการอยู่อย่างไม่งมงาย ( อสมฺ-
โมหวิหารํ)
ของพระองค์ ซึ่งมีการได้บรรลุคุณแห่งพุทธะเป็นที่สุดดัง
พรรณนามาฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุ
การอยู่อย่างไม่งมงายอันถึงที่สุดแล้วนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มต้น จึงตรัสคำว่า
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พราหมณ์ได้สดับการอยู่อย่างไม่งมงาย
นี้แล้ว ได้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบรรลุการอยู่อย่าง
ไม่งมงายนี้ ด้วยปฏิปทาอะไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ความคิดของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ตถาคตได้บรรลุการ
อยู่อย่างไม่งมงาย อันสูงสุดนี้ด้วยปฏิปทาน จึงตรัสไว้อย่างนี้.
[47 ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธํ โข ปน เม
พฺราหฺมณ วิริยํ อโหสิ
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ การอยู่อย่างไม่งมงาย
อันสูงสุดนี้ ไม่ใช่ว่าตถาคตจะเกียจคร้าน หลงลืมสติมีกายกระสับกระส่าย
หรือมีจิตฟุ้งซ่านได้บรรลุมา แท้จริงแล้วเราตถาคตได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุการอยู่อย่างไม่งมงายนั้น คือเราตถาคตนั่งอยู่ที่ควงไม่โพธิ์ ได้
ปรารภประคับประคองความเพียรมีองค์ 4 ให้เป็นไปไม่ย่อหย่อน. ก็เพราะ
ปรารภแล้วนั่นแล ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 นั่น ของเราตถาคต
จึงไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อุปฏฺฐิตา สติ อปฺปมุฏฺฐา ความว่า และไม่ใช่แต่ความ

เพียรอย่างเดียวเท่านั้น ถึงสติของเราตถาคตก็ตั้งมั่นโดยภาวะที่มุ่งหน้าไป
จับอารมณ์ และเพราะตั้งมั่นแล้วนั่นแหละ มันจึงไม่หลงลืม.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย อสารทฺโธ ความว่า เพราะมีกายและ
จิตสงบ แม้กายของเราตถาคตก็สงบด้วย. ในบทนั้นอธิบายว่า เพราะ
เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้รูปกายก็ย่อมสงบด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (รวมๆ) ว่า กายสงบ โดยมิได้ตรัสแยก
ว่า นามกาย รูปกาย.
บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็เพราะสงบแล้วนั่นแล กายนั้นจึง
ชื่อว่าไม่กระสับกระส่าย อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย.
บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ความว่า แม้จิตอันเราตถาคต
ตั้งใจไว้โดยชอบแล้ว คือเป็นเหมือน (จับ) วางไว้ด้วยดี และเพราะ
ตั้งไว้โดยชอบแล้วนั่นแล จึงมีชื่อว่ามีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ ไม่หวั่นไหว
ไม่ดิ้นรน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน
ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ประโยชน์ของฌาน 4


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงคุณวิเศษเริ่มต้นตั้งแต่ปฐม-
ฌานจนกระทั่งถึงวิชชา 3 เป็นที่สุดที่พระองค์ทรงบรรลุแล้วด้วยปฏิปทา
นี้ จึงตรัสคำว่า โส โข อหํ ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น คำใด
ที่จะต้องกล่าวในตอนนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯเปฯ จตุตฺถํ ณาน
อุปสมฺปชฺช วิหาสึ
คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยปฐวี-
กสิณในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ความจริงมีแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้น ดังนี้