เมนู

ประเภทเช่นเขาเนื้อและเสียงกีบเท้าเป็นต้นมาปรากฏ องค์พระมหาสัตว์ก็
ไม่ประทับยืน ( นิ่ง ๆ) ไม่ประทับนั่ง ไม่เสด็จเข้าบรรทม. ตรงกันข้าม
กลับเสด็จจงกรมต่อไป ใคร่ครวญไป พินิจพิเคราะห์ ( จนกระทั่ง )
มองไม่เห็นว่าเป็นภัยและสิ่งที่น่ากลัว มันเป็นเพียงเขาเนื้อและเสียงกีบเท้า
เป็นต้นเท่านั้น. ครั้นทราบอารมณ์นั้นว่า มันชื่อนี้ ไม่ใช่เป็นภัยและสิ่ง
ที่น่ากลัว ดังนี้แล้ว ต่อนั้นไป พระองค์จึงหยุดประทับยืน ประทับนั่ง
หรือเสด็จเข้าบรรทม.
เมื่อจะทรงแสดงความหมายอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
ว่า โส โข อหํ ดังนี้เป็นต้น. ในทุก ๆ เปยยาลก็มีนัยนี้.

ความฉลาดในการออกจากสมาบัติ


และต่อจากนี้ไป พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอิริยาบถไว้
ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน หาได้ตรัสไว้ตามลำดับอิริยาบถไม่. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน แห่งอิริยาบถนั้น ๆ อย่าง
นี้ว่า ก็เมื่อเราตถาคตจงกรมอยู่ เมื่อภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ
เราตถาคตก็ไม่หยุดยืน ไม่นั่ง ไม่นอน แม้เมื่อเราตถาคตหยุดยืน เมื่อภัย
และอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ เราตถาคตก็ไม่เดินจงกรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์ไม่มีภัยและ
อารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการที่พระองค์
ประทับอยู่อย่างไม่ลุ่มหลงในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงของบุคคลผู้
ได้ฌานทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สนฺติ โข ปน พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
[46] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ เท่ากับ อตฺถิ มีอยู่