เมนู

บทว่า สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่า การกล่าวสรรเสริญคุณ ลาภ 1 สักการะ1
การกล่าวสรรเสริญ 1 นั้น ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
บทว่า นิกามยมานา แปลว่า ปรารถนาอยู่.
การเรียกร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวเป็นเหมือนกับที่กล่าวใน
ตอนว่าด้วยอภิชฌาลุนั่นแล. ส่วนในที่นี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้
กล่าวถึงเรื่องพระปิยคามิกะ ซึ่งเป็นตัวอย่างของเรื่องนั้นไว้ว่า:-

ปิยคามิกภิกษุ


ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่งชื่อปิยคามิกะ เห็นลาภของพวกภิกษุ
ผู้สมาทานธุดงค์แล้วคิดว่า เราก็จะสมาทานธุดงค์ทำลาภให้เกิดขึ้นบ้าง
ดังนี้แล้วสมาทานโสสานิกังคธุดงค์ ( ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็น
วัตร) แล้วอยู่ในป่าช้า.
อยู่มาวันหนึ่ง วัวแก่ตัวหนึ่งซึ่งเจ้าของไม่ใช้งานแล้ว ( ปล่อยทิ้ง)
กลางวันออกเที่ยวกิน ตกกลางคืน ( เข้าไป ) ในป่าช้านั้น ได้ยืนขนหยอง
ซุกศีรษะไว้ที่พุ่มดอกไม้. พระปิยคามิกะออกจากที่จงกรมไปในตอน
กลางคืน ได้ยินเสียงคางของวัวนั้นกระทบกันแล้วก็เข้าใจว่า ท้าวสักก-
เทวราช
คงจะทราบเราว่า พระรูปนี้หวังลาภจึงมาอยู่ในป่าช้า ดังนี้แล้ว
มาเพื่อทำร้ายเราแน่ ๆ. ท่านจึงได้ยืนประนมมือไหว้ข้างหน้าวัวแก่ อ้อน
วอนอยู่ตลอดคืนยังรุ่งว่า ข้าแต่ท่านท้าวเทวราชผู้เป็นสัตบุรุษ ขอพระ-

องค์จงยกโทษให้อาตมาคืนนี้สักคืนหนึ่งเถอะ แล้วตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป
อาตมาจักไม่ทำอย่างนี้อีก ต่อนาพอพระอาทิตย์อุทัย ท่านก็ได้เห็นเป็นวัว
แก่ตัวนั้น (ไม่ใช่ท้าวสักกะ) จึงเอาไม้ตะพดหวดตะเพิดไล่เตลิดเปิดเปิง
ไปพร้อมทั้งคำไล่หลังว่า แกทำให้ข้ากลัวตลอดคืนยังรุ่งเลย.

สติกับปัญญา


[41] บทว่า กุสีตา แปลว่า ตกอยู่ใต้อำนาจความเกียจคร้าน.
บทว่า หีนวีริยา ความว่า เสื่อม คือเว้น ได้แก่ปราศจากความ
เพียร อธิบายว่า ไม่มีความเพียร. ในบุคคล 2 จำพวกนั้น คนที่เกียจ
คร้านย่อมเว้นจากการเริ่มความเพียรทางกาย คนที่ขาดความเพียรย่อมเว้น
จากการเริ่มความเพียรทางจิต ( สรุปแล้ว ) คนทั้ง 2 จำพวกนั้นย่อมไม่
สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้. คำทั้งหมดว่า เตสํ อววตฺถิ-
ตารมฺมณานํ (มีความหมาย) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
[42 ] บทว่า มุฏฺฐสฺสตี แปลว่า ปล่อยสติ.
บทว่า อสมฺปชานา แปลว่า ปราศจากปัญญา ก็เพราะพระพุทธ-
ดำรัสว่า ตถาคตเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำนี้
ว่า มุฏฺฐสฺสตี พระดำรัสว่า อสมฺปชานา นี้ จึงเป็นบทขยายสติเท่านั้น.
ส่วนปัญญาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสติที่หย่อน
กำลัง. เพราะว่าสติมี 2 อย่าง คือสติที่ประกอบด้วยปัญญา 1 สติที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา 1. ในสติทั้ง 2 นั้น สติประกอบด้วยปัญญาย่อมมี
กำลัง สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมหย่อนกำลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อสมฺปชานา (ไม่มีปัญญา) เพื่อแสดงความหมาย