เมนู

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ
ดังนี้เป็นต้น.

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น


อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีก
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง
ไม่ได้1 ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า
โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ
ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น
เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่ ) และปฬาสะ (ตีเสมอ)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว
นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น
ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).
ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น
ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
นั้น.
ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย
1. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน
ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.