เมนู

ไปเพื่อสัมโพธะ เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรคนั้น, แท้จริง
มรรคนั่นเอง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรค.
ธรรมชาติ ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะทำกิจที่มรรคต้องทำ แต่
ปฏิปทาท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพาน เพราะเป็นไป
พร้อมเพื่อกระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์ชัดซึ่งนิพพานนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ใจความสำคัญในเรื่องนี้มีเท่านี้.
การพรรณนาอย่างอื่นนอกไปจากนี้จะทำให้เนิ่นช้าไป.
บัดนี้ พระเถระประสงค์จะแสดงมัชฌิมาปฏิปทานั้นโดยสรุปจึงถาม
ว่า กตนาวุโส ดังนี้แล้ว วิสัชนาโดยนัยเป็นต้นว่า อยเมว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยเมว (แปลว่านี้เท่านั้น) เป็นคำ
อวธารณะ (ห้ามคำอื่น). พระเถระกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อเป็นการปฏิเสธมรรค
(ทางไปสู่นิพพาน) สายอื่น เพื่อจะได้แสดงว่ามรรคนั้นเป็นของมีทั่วไป
แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า.
ข้อนี้สมด้วย พระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
มรรค (ทาง) สายนี้เท่านั้น ไม่มีมรรคอื่น
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ.

ความหมายของมรรค


มรรคนี้นั้น ชื่อว่าอริยะ เพราะทำกิเลสให้อยู่ห่างไกลบ้าง เพราะ
เป็นไปพรอมเพื่อละข้าศึก (กิเลส)บ้าง เพราะเป็นมรรคที่พระอริยะแสดง
ไว้บ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อให้ได้ความเป็นพระอริยะบ้าง. (มรรค)
ชื่อว่ามีองค์ 8 เพราะประกอบด้วยองค์ 8 และพ้นไปจากองค์หาได้

ไม่ เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ 5 เป็นต้น ฉะนั้น
ที่ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่า ฆ่ากิเลสทั้งหลายไปบ้าง ดำเนิน
ไปสู่นิพพานบ้าง อันบุคคลผู้ต้องการนิพพานแสวงหาบ้าง อันบุคคลผู้
ต้องการนิพพานเหล่านั้นดำเนินไป คือปฏิบัติบ้าง.
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต. นิบาตว่า เสยฺยถีทํ นั้น มีความ
หมายเท่ากับ กตโม โส (แปลว่า มรรคนั้นคืออะไรบ้าง) หรือมี
ความหมายเท่ากับ กตมานิ ตานิ อฏฺฐงฺคานิ (แปลว่า องค์ 8 นั้น
คืออะไรบ้าง).
ความจริงแล้ว องค์แต่ละองค์ก็คือมรรคนั่นเอง. สมด้วยคำที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย. แม้โบราณาจารย์
ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นทางเป็นเหตุให้เห็น สัมมาสังกัปปะ
เป็นทางเป็นเหตุให้ฝังใจ (ในอารมณ์) ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นทางเป็นเหตุ
ไม่ให้ฟุ้งซ่าน.
อนึ่ง ในบรรดาองค์มรรค1ทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้
สัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมีความฝังใจโดย
ชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจามีการหวงแหนโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมา-
กัมมันตะมีการดังขึ้นพร้อมโดยธรรมเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะมีความ
ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะมีการประคอง ( จิต) โดย
ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติมีความปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ
มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ แม้วิเคราะห์มรรคเหล่านั้นก็พึง
ทราบโดยนัยนั้นนั่นเหมือนกันว่า ที่ชื่อว่าสันมาทิฏฐิ เพราะเห็นโดยชอบ.
1. ปาฐะว่า สมฺมาทฏฺฐีสุ ฉบับพม่าเป็น สมฺมาทิฏฺฐาทีสุ แปลตามฉบับพม่า

ในจำนวนมรรคเหล่านั้น
(1 ) สัมมาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นย่อมละมิจฉาทิฏฐิ กิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐินั้นและอวิชชาได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เห็น
สัมปยุตธรรมทั้งหลาย และเห็นสัมปยุตธรรมเหล่านั้นโดยความไม่งมงาย
ไม่ใช่เห็นโดยความเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ.
( 2) สัมมาสังกัปปะ ( เมื่อเกิดขึ้น ) ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ
และกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสังกัปปะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์และปลูกฝังสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ในใจโดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.
( 3 ) สัมมาวาจา (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวาจาและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาวาจานั้นได้กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ หวงแหนสัมปยุต-
ธรรมทั้งหลายโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาวาจา.
(4) สัมมากัมมันตะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉากัมมันตะและ
กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมนากัมมันตะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ตั้งขึ้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียก
ว่าสันมากัมมันตะ.
(5) สัมมาอาชีวะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาอาชีวะและ
กิเสสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาอาชีวะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.
( 6 ) สัมมาวายามะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวายามะ ธรรม
ที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาวายานะนั้นและความเกียจคร้านได้ กระทำนิพพานให้

เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.
(7) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อม
ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
สัมมาสติ.
(8) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่
เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้
เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อยํ โข
สา อาวุโส
ดังนี้เป็นต้น คำที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ 8 นี้
ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง 4 เข้าด้วยกันว่า
ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็น
ไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก


ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น
ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ
เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง
ละเหล่านั้น.