เมนู

องค์ไปบนพุทธอาสน์ที่ประทับนั่งนั่นเอง เสด็จเข้าไปสู่วิหารด้วยการเสด็จ
ไปด้วยอำนาจจิต เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จไปด้วยการไป
ด้วยพระกายไซร้ บริษัททั้งหมด (ที่ประชุมอยู่ในที่นั้น) ก็คงจะพากัน
แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้. บริษัท (ที่ประชุมกันอยู่ ) นั้นแตกกลุ่ม
กันชั่วคราวแล้วก็ยากที่จะมาชุมนุมกันได้อีก ( เพราะฉะนั้น ) พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปด้วยการเสด็จไปด้วยอำนาจจิตนั่นเอง ( หายตัว
ไป ).

พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม


[ 23 ] ก็แล ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป ( สู่วิหาร )
ด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ( นั่ง ) อยู่ ณ ที่นั้นแล ประสงค์
จะยกย่องธรรมนั้นให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้กล่าวคำนี้ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกคนที่รัก.
คำว่า สาริปุตฺโต เป็นนามของพระเถระนั้น ก็แล นามนั้นได้มา
จากข้างฝ่ายมารดา มิใช่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดา เพราะพระเถระนั้นเป็น
บุตรของพราหมณีชื่อรูปสารี ฉะนั้น จึงชื่อว่า สารีบุตร.
คำว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เพิ่งหลีกไปได้ไม่นาน.
ก็ในคำว่า อาวุโส ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ทั้งหลายเมื่อจะทรงเรียกสาวก ( ของพระองค์ ) ก็จะทรงเรียกว่า
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ) ฝ่ายสาวกทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายจง
อย่าเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ดังนี้แล้ว (เมื่อจะร้องทักกัน)
ก็กล่าวว่า อาวุโส (แปลว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ) ก่อนแล้ว จึงกล่าวว่า

ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ทีหลัง. อนึ่ง ภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายตรัสเรียกแล้วก็จะทูลรับว่า ภทนฺเต ( พระเจ้าข้า) สงฆ์ที่
พระสาวกทั้งหลายเรียกจะตอบรับว่า อาวุโส (ดูก่อนผู้มีอายุ).
คำว่า กิตฺตาวตา ในบทว่า กิตฺตาวตา นุ โข อาวุโส นี้
เป็นคำแสดงความกำหนด แปลว่า ด้วยเหตุเท่าไร ? นุ อักษรใช้ใน
อรรถแห่งคำถาม. โข อักษรเป็นเพียงนิบาต.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่ด้วยวิเวก 3 คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก.
บทว่า วิเวกนฺนานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ศึกษาตามซึ่งวิเวกทั้ง 3
แม้แต่วิเวกข้อใดข้อหนึ่ง.
บทว่า อามิสทายาทาว โหนฺติ ความว่า ท่านพระสารีบุตร
ถามเนื้อความนี้กะภิกษุทั้งหลาย. แม้ในสุกกปักษ์ ( ฝ่ายที่ดี) ก็นัยนี้.
เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายประสงค์จะสดับเนื้อความนั้น
จึงได้กล่าวว่า ทูรโตปิ โข ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรโตปิ ความว่า จากภายนอกแว่น
แคว้นบ้าง จากภายนอกชนบทบ้าง อธิบายว่า จากที่ไกลนับได้หลาย
ร้อยโยชน์บ้าง.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้.
บทว่า อญฺญาตุํ แปลว่า เพื่อรู้ คือเพื่อเข้าใจ.
บทว่า อายสฺมนฺตํเยว สาริปุตฺตํ ปฏิภาตุ ความว่า จงเป็นหน้าที่
ส่วนของท่านพระสารีบุตรเถิด อธิบายว่า ขอให้ท่านพระสารีบุตรช่วย
แจกแจง ( ขยายความ ) ให้เป็นส่วนของตนด้วยเถิด.

ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า การขยายความเป็นหน้าที่ของท่าน
พระสารีบุตร
ส่วนการฟังเป็นหน้าที่ของพวกกระผม คำอธิบายอย่างนี้
สมกับลักษณะของศัพท์. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฏิภาตุ
คือ ทิสฺสตุ ( จงแสดง ). อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อุปฏฺฐาตุ
(จงปรากฏ).
บทว่า ธาเรสฺสนฺติ (จักทรงจำไว้) ได้แก่จักเรียน.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่า-
นั้น จึงกล่าวคำว่า เตนหิ ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า เตนหิ นั้น มีอธิบายว่า บทว่า เตน เป็นตติยาวิภัตติ.
หิ อักษร เป็นนิบาต. มีคำอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายประสงค์
จะฟังและบอกกล่าวให้เป็นภาระของผม ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังเถิด.
เหล่าภิกษุรับรองคำพูดของพระเถระแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เอวมาวุโส ฯ เป ฯ ปจฺจสฺโสสุํ ดังนี้.
[24] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเนื้อความที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงตำหนิความเป็นอามิสทายาท ตรัสไว้แล้วโดยอาการ
อย่างเดียวกันนั้นเองว่า แม้เธอทั้งหลายก็จะพึงถูกตำหนิ โดยความเป็น
อามิสทายาทนั้น ดังนี้ โดยอาการ 3 อย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าว
คำนี้ว่า อิธาวุโส ฯ เป ฯ สาวกา วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงตำหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทอันใด แม้ท่านทั้งหลายก็จะพึง
ถูกตำหนิด้วยปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทนั้น. และพระเถระได้ถามก็จะถาม
ใดด้วยตนเองว่า กิตฺตาวตา นุโข ฯ เป ฯ นานุสิกฺขนฺติ. ความหมายแห่ง

คำถามนั้นแบบพิสดารเป็นอันพระเถระได้แจกแจงไว้ดีแล้ว.
ก็แต่ว่า ความหมายนั้นมิได้พาดพิงถึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง
ถูกตำหนิด้วยเลย. เพราะพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้แล้วว่า อหมฺปิ เตน
อาทิสฺโส ภวิสฺสานิ
(แม้เราตถาคตก็จักถูกตำหนิด้วยความเป็นอามิส
ทายาทนั้นด้วย) เป็นพระดำรัสที่ถูกต้องแล้วของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เอง ซึ่งทรงประสงค์จะสงเคราะห์สาวก ไม่ใช่เป็นถ้อยคำของพระสาวก.
แม้ในฝ่ายที่ดี (สุกกปักษ์) ก็นัยนี้. ในตอนนี้มีโยชนา (การประ-
กอบความ) ลำดับแห่งอนุสนธิเท่านี้ก่อน.
ส่วนการขยายความในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส ความว่า เมื่อพระศาสดาผู้ทรงสงัด
แล้วอย่างแท้จริงด้วยวิเวก 3.
บทว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ตามศึกษา คือไม่บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ซึ่งกายวิเวก. ก็ถ้าว่าพระเถระจะพึงกล่าวหมายถึงวิเวกทั้ง 3 ไซร้
คำถามก็คงไม่มีเป็นพิเศษ เพราะว่าวิเวกในคำว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ
นี้เป็นฝ่ายแห่งคำพยากรณ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงกายวิเวกด้วย
บทนี้ว่า (วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ) แสดงจิตติวิเวกด้วยบทว่า เยสญฺจ
ธมฺมานํ
และแสดงอุปธิวิเวกด้วยว่า พาหุลฺลิกา ดังนี้เป็นต้น . ในตอน
นี้พึงทราบความโดยย่อดังพรรณนามาฉะนี้.
ด้วยบทว่า เยสญฺจ ธมฺมานํ พระเถระกล่าวหมายเอาอกุศลธรรม
มีโลภะเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส
บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น โลภะเป็นบาป.

บทว่า นปฺปชหนฺติ ได้แก่ไม่ละทิ้ง อธิบายว่า ไม่บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ซึ่งจิตตวิเวก.
บทว่า พาหุลฺลิกา แปลว่า ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้หมกมุ่น ด้วย
ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า สาถลิกา เพราะนับถือศาสนา
แบบย่อหย่อน.
ในบทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้ มีอธิบายว่า นิวรณ์ 5
เรียกว่า โอกกมนะ เพราะเป็นเหตุให้ตกต่ำ ภิกษุเหล่านั้น นับว่าเป็น
แนวหน้า (นำ ) ด้วยการทำนิวรณ์ 5 ให้บริบูรณ์นั้น.
บทว่า ปวิเวเก คือในอุปธิวิเวก ได้แก่นนิพพาน.
บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า มีธุระอันปลงลงแล้ว คือไม่ทำการ
เริ่มความเพียรเพื่อบรรลุนิพพานนั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าว
ไว้แล้วว่า ไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์. พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าว
โดยไม่จำกัดแน่นอนด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะจำกัดเทศนา
ให้แน่นอน จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส ดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? เมื่อพระเถระกล่าวไม่จำกัดแน่นอนลง
ไปอย่างนี้ว่า สาวกทั้งหลาย ( ย่อมถูกตำหนิ) โดยเหตุ 3 สถาน
ภิกษุเหล่านั้นย่อมพากันบ่นว่า เรื่องนั้นพระเถระพูดว่า คนอื่นไม่ได้ว่า
พวกเรา แต่เมื่อพระเถระกล่าวกำหนดแน่นอนลงไปอย่างนี้ว่า เถรา
(สาวกที่เป็นพระเถระ) นวา ( สาวกที่เป็นนวกะ) มชฺฌิมา ( สาวกที่มี
พรรษาปานกลาง) ภิกษุเหล่านั้นพากันทำความเอื้อเฟื้อว่า เรื่องนี้พระ
เถระว่าพวกเรา.
ตอบว่า อุปมาเหมือนเมื่อเหล่าราชอำมาตย์แม้จะบอกว่าประชาชน

ต้องช่วยกันทำความสะอาดถนนในเมือง ต่างพากันสงสัยอยู่ว่า ใครกันนะ
ต้องทำความสะอาด แล้วไม่ (มีใคร ) ลงมือทำความสะอาด ต่อเมื่อ
ตีกลองบ่าวประกาศว่า ประชาชนต้องทำความสะอาดประเรือนของตน ๆ
ชาวเมืองทั้งหมดต่างก็จะช่วยทำความสะอาด และประดับประดาให้สวยงาม
โดยใช้เวลาเพียงชั่วครู่ฉันใด อุปไมยก็พึงทราบฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ได้แก่ เตสุ โยค สาวเกสุ
(บรรดาสาวกเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลายที่ถูกเรียกว่าเป็นพระเถระ เพราะหมายเอาผู้มีพรรษา
10 ขึ้นไป.

ฐานศัพท์ใช้ในความหมายต่าง ๆ


บทว่า ตีหิ ฐาเนหิ ได้แก่โดยเหตุ 3 อย่าง
ก็ฐานศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (อิสฺสริย) เป้าหมาย
= ที่ตั้งอยู่, ที่ดำรงอยู่, (ฐิติ) ขณะ และเหตุ (การณ์) (มีตัวอย่างดัง
ต่อไปนี้):-
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น
ว่า ก็ท้าวสักกะจอมเทพนี้ทำกรรมอะไรไว้จึงได้รับตำแหน่งนี้.
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เป้าหมาย (เช่น) ในประโยคเป็น
ต้นว่า เป็นผู้ฉลาดในเป้าหมาย เป็นผู้ยิงทันสายฟ้า (ยิงไม่ขาดระยะ).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ขณะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
ก็คำนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยขณะ (โดยฉับพลัน).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เหตุ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า