เมนู

ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ
สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต 6 อภิญญาทั้งปวง คำ
วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ 4
ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน
คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม
ปัณณาสก์ 3 หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-
ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ 15 วรรค เพราะ
แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น 5 ว่าโดยสูตร มี 152 สูตร ว่าโดยบทมี
80,523 บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
กล่าวกำหนดบทไว้ 80,523 บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี 740,053 อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี 80
ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี 23 บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี 3 อนุสนธิ
คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย
พิสดารในเรื่องนี้มี 3,900 อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์
เหล่านั้นไว้ 3,900 อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค
ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.

อธิบายนิทานพจน์


(1) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน

กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหา-
สังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ
สุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.

อธิบาย เอวมฺเม สุตํ


ก็คำว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นนี้ เป็นคำเริ่มต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.
ในคำว่า อุกฺกฏฺฐายํ วิหรติ นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้
ก่อนว่า บทว่า วิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. แต่
โดยใจความ เอวํ ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่า
อุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะ
อวธารณะ.
จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า อุปมา ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทำฉันนั้น
ดังนี้.
มาในอรรถว่า อุปเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไป
อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.
มาในอรรถว่า สัมปหังสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้.
มาในอรรถว่า ครหณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าว
สรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ ๆ ในทุก ๆ ที่ ดังนี้.