เมนู

ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ
สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต 6 อภิญญาทั้งปวง คำ
วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ 4
ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน
คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม
ปัณณาสก์ 3 หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-
ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ 15 วรรค เพราะ
แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น 5 ว่าโดยสูตร มี 152 สูตร ว่าโดยบทมี
80,523 บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
กล่าวกำหนดบทไว้ 80,523 บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี 740,053 อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี 80
ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี 23 บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี 3 อนุสนธิ
คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย
พิสดารในเรื่องนี้มี 3,900 อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์
เหล่านั้นไว้ 3,900 อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค
ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.

อธิบายนิทานพจน์


(1) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน