เมนู

อธิบายญาณทัสสนะ


[11] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ชานโต อหํ เป็นต้นดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้
ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วย
บทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคล
โดยมุ่งถึงอำนาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอำนาจ
ในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้า
ทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุ
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการ
จะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสำคัญ
ในคำทั้ง 2 นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.
ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้น
ไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการ
ไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะ
ทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวานํ ขยา อนาสวญฺเจโต-
วิมุตฺตึ.
ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้น
อาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า