เมนู

ว่าโดยบรรยายที่จำแนกอาสวะทั้งหลายมีมา 5 อย่าง คือ ภิกษุทั้งหลาย
อาสวะซึ่งเป็นเหตุยังสัตว์ให้เข้าถึงนรกก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไป
สู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่วิสัยแห่งเปรต
ก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มีอยู่ และอาสวะอันเป็น
เหตุยังสัตว์ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาต อาสวะมีมา 6 อย่าง โดยนัย
เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ต้องละด้วยสังวรมีอยู่. ส่วนในสูตรนี้
อาสวะ 6 เหล่านั้นนั่นแล พร้อมด้วยอาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ มีมา
(รวม) เป็น 7 อรรถพจน์ และประเภท (แห่งอาสวะ) ในบทว่า
อาสวะ มีเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายสังวร


ส่วนในบทว่า สังวร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สังวร
เพราะอรรถว่า สังวร อธิบายว่า ปิด คือห้าม ได้แก่ไม่ให้เป็นไป. สมจริง
ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
อนุญาตให้ภิกษุผู้ต้องการพักผ่อนในกลางวัน ต้องปิดประตูเสียก่อนแล้วจึง
พักผ่อนดังนี้. พระอาจารย์กล่าว สังวร ด้วยอรรถว่า ปิดในคำเป็นต้นว่า
ตถาคต เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแส
เหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้.

สังวรนั้นมี 5 อย่างคือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติ-
สังวร วิริยสังวร.
บรรดาสังวรเหล่านั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบ
ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่าสีลสังวร. ความจริงปาฏิโมกขศีลท่าน

กล่าวว่า สังวร ในที่นี้. สังวรในคำเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร. ก็สติ ท่านกล่าวว่า สังวร ในที่นี้.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า เราตถาคตกล่าวญาณว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส
กระแสเหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา นี้ชื่อว่าญาณสังวร. ก็ใน
ที่นี้ท่านกล่าวญาณว่า สังวร ด้วยอรรถว่าปิดไว้ได้ ด้วยบทว่า ปิถียเร.
ขันติสังวรและวิริยสังวรมาในสูตรนี้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเป็นผู้อดทน
ต่อความหนาว ฯลฯ ไม่ยอมให้วิตกซึ่งเกิดขึ้นครอบงำได้ ดังนี้. ก็พึง
ทราบความที่ขันติและวิริยะ ชื่อว่า สังวร เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอุเทศ
นี้ว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ นี้.
อีกอย่างหนึ่ง สังวรแม้ทั้ง 5 อย่างนี้ ก็มาในสูตรนี้เหมือนกัน.
บรรดาสังวรทั้ง 5 อย่างนั้น ขันติสังวรและวิริยสังวรท่านกล่าวไว้ก่อน
แล้วทีเดียว. ก็สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นพิจารณาที่อันมิใช่อาสนะนั้นและ
อโคจรนั้นโดยแยบตายแล้ว นี้ชื่อว่าสีลสังวรในที่นี้. สังวรที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว สำรวมระวังจักขุนทรีย์ดังนี้ นี้ชื่อว่าสติ
สังวร. การพิจารณาด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ชื่อว่า ญาณสังวร. ส่วน
การเห็น การส้องเสพ การเจริญ ก็ชื่อว่า ญาณสังวร ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้
ถือเอา. ที่ชื่อว่าปริยาย เพราะเป็นเหตุเครื่องกำหนดแห่งธรรมทั้งหลาย
อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการเกิดขึ้นหรือดับไป. คำใดที่ควรกล่าว
ในคำนี้ว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ คำนั้นท่านกล่าวอธิบายไว้ด้วยคำมี
ประมาณเพียงเท่านี้.

อธิบายญาณทัสสนะ


[11] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ชานโต อหํ เป็นต้นดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้
ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วย
บทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคล
โดยมุ่งถึงอำนาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอำนาจ
ในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้า
ทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุ
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการ
จะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสำคัญ
ในคำทั้ง 2 นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.
ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้น
ไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการ
ไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะ
ทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวานํ ขยา อนาสวญฺเจโต-
วิมุตฺตึ.
ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้น
อาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า