เมนู

(การย่นย่อ) 4 สังเขป มีสนธิ 3 สนธิ มีอัทธา (กาล) 3 อัทธา
มีอาการ 20.

อธิบายปฏิจจสมุปบาท


ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า
นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ 1 ทุกข์เป็นสังเขปที่ 2 เพราะพระบาลีว่า
ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ 3 เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ
ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ 4. พึงทราบสังเขป 4 ด้วยคำเพียงเท่านี้ดัง
พรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ส่วนทั้งหลาย.
ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ 1 ระหว่างทุกข์กับภพเป็น
สนธิที่ 2 ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ 3 พึงทราบสนธิ 3 ระหว่าง
สังเขป 4 ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง 4 ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต)
ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตัทธา. (กาลที่เป็นอนาคต ) ทุกข์และ
ภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน ) พึงทราบอัทธา 3 ดัง
พรรณนามาฉะนี้แล.
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ 5 ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา
จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา ( อาการ 4 คือ) อวิชชา
สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น
ปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า