เมนู

ตถาคตรู้ อารมณ์นั้นปรากฏแล้วในตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ
เห็นอารมณ์ที่แท้จริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในบทว่า ตถาคโต นั้น นักศึกษาพึงทราบการใช้บทว่า ตถาคโต
ลงในความหมายว่า ผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้

ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมี
ปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ อย่างไร ?
ตอบว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์
(บัลลังก์ที่มารไม่สามารถทำให้พ่ายแพ้ได้, บัลลังก์ของผู้ชนะ) ภายใต้
ควงไม้โพธิ์ ทรงบั่นเศียรมารทั้ง 3 แล้วตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตร-
สัมมาสัมโพธิญาณก็ดี การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ในตอนกลางคืนก็ดี
ตลอดระยะเวลา 45 ปี ในระหว่างนี้ (ช่วงหลังตรัสรู้และก่อนปริ-
นิพพาน) คือในระยะเวลาครั้งปฐมโพธิกาลบ้าง ครั้งมัชฌิมโพธิกาล
บ้าง ครั้งปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระพุทธพจน์ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ จะเป็นสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละก็ตาม พระพุทธพจน์นั้น
ทั้งหมดอัน วิญญูชนกล่าวตำหนิไม่ได้ทั้งโดยอรรถ (ความหมาย, เนื้อหา
สาระ) ทั้งโดยพยัญชนะ (ตัวหนังสือ) ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ย่ำยีความเมาด้วยราคะ ย่ำยีความเมาด้วยโทสะและโมหะ
ความผิดพลาดในพระพุทธพจน์นั้นแม้เพียงปลายขนทรายก็ไม่มีดี ทั้ง

หมดนั้นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ราวกับประทับตราด้วยพระราช-
ลัญจกรอันเดียวกัน ราวกับว่าดวงด้วยทะนานเดียวกัน และราวกับว่าชั่ง
ด้วยตาชั่งคันเดียวกันฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า การที่พระตถาคตตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในตอนกลางคืนก็ดี การ
ที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในตอนกลางคืน
ก็ดี การที่พระตถาคตตรัสสนทนาชี้แจงรนระหว่างนี้ก็ดี ทั้งหมดนั้น
เป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ-
นามว่า ตถาคต.

แท้จริง คต ศัพท์ ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายเท่ากับ
คทะ (ตรัส, พูด).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ
ตรัสวาทะที่จริงแท้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
อนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า ได้แก่คำพูด. การ
ตรัสของพระตถาคตนั้นจริงแท้ คือไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงได้รับ
ขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง อักษรให้เป็น อักษร
และนักศึกษาพึงทราบบทสำเร็จรูปในความหมายนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
ตถาคต - ผู้มีปกติทำจริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง
เป็นผู้มีปกติทำจริงอย่างไร ?
ตอบว่า ก็กายกรรมของพระผู้มีภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวจีกรรม ทั้ง

วจีกรรมก็คล้อยตามกายกรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติ
ตรัสอย่างใด สิ่งทรงมีปกติทำอย่างนั้น และมีปกติทำอย่างใด ก็ทรงมีปกติ
ตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า วจีกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้ทรงเป็น
อย่างนี้ เป็นฉันใด แม้กายกรรมก็เป็นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรง
พระนามว่า ตถาคต.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตมีปกติพูดอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น มีปกติทำอย่างใด ก็มี
ปกติพูดอย่างนั้น เพราะเหตุที่มีปกติพูดอย่างใด จึงมีปกติทำอย่างนั้น
มีปกติทำอย่างใด จึงมีปกติพูดอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้รับขนาดพระ
นามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติ
ทำจริงดังพรรณนามาฉะนี้.

ตถาคต - ผู้ครอบงำ


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมาย
ความว่า ครอบงำอย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ )
ในเบื้องในตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา ในเบื้องล่างตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้น
ไป ในด้านขวางย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ) สรรพสัตว์ในโลกธาตุ
อัน หาปริมาณมิได้ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุติบ้าง วิมุตติ-
ญาณทัสสนะบ้าง การชั่งหรือการกำหนดวัด (พระคุณมีศีลเป็นต้น)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มี พระองค์มีพระคุณอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้