เมนู

ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพระเสด็จ
มาสู่ลักษณะอันแท้จริงนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิด
ได้แก่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความเข้มแข็ง
อย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะ
แห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว
ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็นเครื่องรู้
ลักษณะแห่งรูปว่าการย่อยยับไป ลักษณะแห่งเวทนาว่าการเสวยอารมณ์
ลักษณะสัญญาว่าความจำได้ ลักษณะแห่งสังขารว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง
ลักษณะแห่งวิญญาณว่าความรู้แจ้ง ลักษณะของวิตกว่าการยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ ลักษณะของวิจารว่าการเคล้าอารมณ์ ลักษณะปีติว่าการแผ่ซ่าน
ไป ลักษณะแห่งสุขว่าความยินดี ลักษณะแห่งจิตเอกัคคตาว่าความไม่
ฟุ้งซ่าน ลักษณะแห่งผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของสัทธินทรีย์ว่าการ
น้อมใจเชื่อ ลักษณะของวิริยินทรีย์ว่าการประคองจิต ลักษณะของสติน-
ทรีย์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งสมาธินทรีย์ว่าความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ลักษณะของปัญญินทรีย์ว่าการที่จิตรู้ชัด ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่
จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะของวิริยพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ลักษณะแห่งสติพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความหลงลืมสติ ลักษณะแห่งสมาธิพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ ลักษณะแห่งปัญญาพละว่าความที่จิตไม่

หวั่นไหวในเพราะอวิชชา ลักษณะของสติสัมโพชฌงค์ว่าความปรากฏชัด
ลักษณะแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ว่าการพิจารณา ลักษณะของวิริย-
สัมโพชฌงค์ว่าการประคองจิตไว้ ลักษณะของปีติสัมโพชฌงค์ว่าการแผ่
จิตไป ลักษณะของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ว่าการสงบจิต ลักษณะของสมาธิ
สัมโพชฌงค์ว่าความไม่ฟุ้งซ่านของจิต ลักษณะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ว่าการพิจารณา ลักษณะของสัมมาทิฏฐิว่าการเห็น ลักษณะของสัมมา-
สังกัปปะว่าการยกจิตขึ้น ลักษณะของสัมมาวาจาว่าการกำหนดจิต ลักษณะ
ของสัมมากัมมันตะว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของสัมมาอาชีวะว่า
ความผ่องแผ้วของจิต ลักษณะของสัมมาวายามะว่าการประคองจิต
ลักษณะของสัมมาสติว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมาสมาธิว่าการที่
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของอวิชชาว่าความไม่รู้ ลักษณะของสังขารว่า
เจตนา ลักษณะของวิญญาณว่าความรู้ชัด ลักษณะของนามว่าการน้อม
จิตไป ลักษณะของรูปว่าความย่อยยับไป ลักษณะของอายตนะ 6 ว่า
บ่อเกิด ลักษณะของผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของเวทนาว่าการ
เสวยอารมณ์ ลักษณะของตัณหาว่าเหตุแห่งทุกข์ ลักษณะของอุปาทานว่า
ความยึดถือ ลักษณะของภพว่าการประมวลไว้ ลักษณะของชาติว่า
การเกิด ลักษณะของชราว่าความแก่ ลักษณะของมรณะว่าจุติ ลักษณะ
ของธาตุว่าความว่างเปล่า ลักษณะของอายตนะว่าบ่อเกิด ลักษณะของ
สติปัฏฐานว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมัปปธานว่าการตั้งความเพียร
ลักษณะของอิทธิบาทว่าความสำเร็จ ลักษณะของอินทรีย์ว่าความเป็นใหญ่
ลักษณะของพละว่าการไม่หวั่นไหว ลักษณะของโพชฌงค์ว่าธรรม
เครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ลักษณะของมรรคว่าเป็นเหตุให้ถึงความ

ดับทุกข์ ลักษณะของสัจจะว่าความจริง ลักษณะของสมถะว่าความไม่
ฟุ้งซ่าน ลักษณะของวิปัสสนาว่าพิจารณาเห็น ลักษณะของสมถะและ
วิปัสสนาว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่กันว่าไม่ละกัน
ลักษณะของศีลวิสุทธิว่าการระวังรักษา ลักษณะของจิตตวิสุทธิว่าความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของทิฏฐิวิสุทธิว่าการเห็น ลักษณะของญาณใน
ธรรมเป็นที่สิ้นไปว่าสมุจเฉท ลักษณะของญาณในธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นว่า
ความสงบ ลักษณะของฉันทะว่ามูลเหตุ ลักษณะของมนสิการว่าความขยัน
หมั่นเพียร ลักษณะของผัสสะว่าที่รวม ลักษณะของเวทนาว่าที่ประชุม
ลักษณะของสมาธิว่าธรรมที่เป็นประธาน ลักษณะของสติว่าความเป็นไหญ่
ลักษณะของปัญญาว่าสูงกว่าธรรมทั้งหมด ลักษณะของวิมุติว่าแก่น
ลักษณะของนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตะว่าที่สิ้นสุด พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาถึง คือถึง ได้แก่บรรลุซึ่งลักษณะที่เป็นจริงอย่างนี้ อย่างแท้จริง
คือไม่ผิด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ลักษณะอันแท้จริงอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่แท้จริงตามความเป็นจริงอย่างไร ?
ตอบว่า ที่ชื่อว่าธรรมที่จริงแท้ ได้แก่อริยสัจ 4. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้
เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ 4 อะไรบ้าง ?