เมนู

อธิบายคำว่า ตถาคต


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพ
ในวัตถุธาตุทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความ
เป็นไปของพระองค์เอง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตถาคโตปิ ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ 8 อย่างคือ (1) เรียกว่า
ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (2) เรียกว่า ตถาคต
เพราะอรรถว่า เสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (3) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (4) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (5) เรียกว่า ตถาคต เพราะ
ทรงเห็นแท้จริง, (6) เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (7)
เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง, (8) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า
ครอบงำ.

ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนี้


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาแล้ว อย่างนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงถึงการขวนขวาย
เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือน
อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี 1 ทรงพระนามว่า
สิขี 1 ทรงพระนามว่า เวสสภู 1 ทรงพระนามว่า กกุสันธะ 1 ทรง

พระนามว่า โกนาคมนะ 1 ทรงพระนามว่า กัสสปะ 1 เสด็จมาเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกฉันใด (พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้ ก็
เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกฉันนั้นเหมือนกัน).
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมา
ด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วย
อภินิหารนั้นเหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี
ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ได้ทรงบำเพ็ญบารมี 30
ทัศนี้ คือ บารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 ทั้งได้ทรง
บำเพ็ญมหาบริจาค 5 อย่างเหล่านี้ คือ ทรงบริจาคอวัยวะ ดวงพระเนตร
พระราชทรัพย์ ราชสมบัติ โอรสและมเหสี ทรงบำเพ็ญบุพพประโยค
บุพพจริยา การสอนธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น มาจนถึงที่สุดด้วย
พุทธจริยาฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา ก็เสด็จมาฉันนั้น
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้
มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนานว่า กัสสปะ เสด็จมาบำเพ็ญเพิ่มพูนสติปัฏ-
ฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมี
องค์ 8 ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาฉันนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.

พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมา
ถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดยประการใด
แม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่า
พระตถาคต ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น ดังพรรณนามา
อย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.

ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ
ไปแล้ว อย่างนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนานว่า กัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จ
ดำเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันนั้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดำเนินไปได้อย่างไร ?
(อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วย
พระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนิน
ไปได้ 7 ก้าว เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อานนท์ พระโพธิสัตว์
ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนบนปฐพีอยู่ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ
ผินพระพักตร์ต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนินไปได้ 7 ก้าว โดยมี
เทวดากั้นเศวตฉัตรติดตามไป ทรงตรวจดูรอบทิศ เปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็น