เมนู

[190] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่าน
พึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน 4 คือ ชักชวนให้
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ชักชวนให้เที่ยว
ตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน 1 ชักชวนให้ดูการมหรสพ 1 ชักชวน
ให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1 ดูก่อนคฤหบดีบุตร
คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน 4 เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[191] บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรปอกลอก 1 มิตรดีแต่พูด 1 มิตรหัว
ประจบ 1 มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ว่าไม่
ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคน
เดินทาง เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น

[192] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมี
อุปการะ 1 มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ มิตรมีความ
รักใคร่ 1 ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี ( เป็นมิตรแท้ ).

กถาว่าด้วยมิตรแท้



[193] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 1 รักษาทรัพย์
สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 1 เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ 1 เมื่อกิจที่

จำต้องทำเกิดขึ้น เพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า 1. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมี
อุปการะท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 เหล่านี้แล.
[194] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 คือ บอกความลับแก่เพื่อน 1 ปิดความลับ
ของเพื่อน 1 ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย 1 แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์
แก่เพื่อนได้ 1. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้โดยสถาน . เหล่านี้แล.
[195] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 คือ ห้ามจากความชั่ว 1 ให้ตั้งอยู่ในความ
ดี 1 ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1 บอกทางสวรรค์ให้ 1. ดูก่อนคฤหบดี
บุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4
เหล่านี้แล.
[196] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็น
มิตรแท้ โดยสถาน 4 คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน 1 ยินดี
ด้วยความเจริญของเพื่อน. ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน 1 สรรเสริญคนที่
สรรเสริญเพื่อน 1. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตแล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[197] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร 4 จำพวก เหล่านี้ คือ

มิตรมีอุปการะ 1 มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ 1 มิตร
แนะประโยชน์ 1 มิตรมีความรักใคร่ 1 ว่าเป็น
มิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไป คบหาโดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่อง
สว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ
อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึง
ความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น
ฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม
โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ
ออกเป็น 4 ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้
สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ
งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย
หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.


กถาว่าด้วยทิศ 6



[198] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง 6
อย่างไร. ท่านพึงทราบทิศ 6 เหล่านี้คือ พึงทราบมารดาบิดาว่า เป็นทิศ
เบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร