เมนู

นั่นแล แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มัก
ผูกโกรธ แม้ข้อที่ผู้ มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ นี้แล ย่อมเป็นอุป-
กิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลพูดลผู้มีตบะเป็นผู้มีความลบหลู่
ดีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา กระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มีความ
ปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิเอง เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ยาก ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ฯลฯ แม้นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล
ผู้มีตบะ.
นิโครธะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเกลียดบาป
ด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสหรือไม่เป็นอุปกิเลส.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเกลียด
บาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลสหามิได้ บุคคล
ผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็นผู้ประถอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง ข้อนี้
แลเป็นฐานะที่มีได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อ ๆ.

กถาว่าด้วยความบริสุทธิ์ของผู้รังเกียจตบะ



[25] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะใน
โลกนี้ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะ
นั้น ข้อที่ผู้ มีตบะถือมั่นตบะ ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อม
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ใน
ฐานะนั้น.

นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมไม่มัวเมา ไม่ลืมสติ ย่อมไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้
เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ. เขาให้
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ
ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่าง
นี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาเป็น
ผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่มัวเมา ไม่
หลงลืมสติ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ
อย่างนี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น .
นิโครธะ ข้ออื่นยังอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อม
ไม่ถึงส่วน 2 ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขา
ไม่กำหนัด ไม่ลืมสติ ไม่คิดสิ่งนั้น แลเห็นโทษ มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภค
อยู่อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ แต่
เขาไม่คิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่รุกรานสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นว่า ก็ไฉนผู้นี้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุก ๆ
อย่าง คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด
พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ 5 ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้ง
หลายย่อมจำกันได้ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือบูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาไม่
ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะหรือ
พราหมณ์ชื่อนี้แล ผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายประการในสกุลทั้งหลาย แต่
ไม่สักกาะร ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุ
เศร้าหมองในสกุลทั้งหลาย เขาไม่ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้น
ในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้ไม่นั่งในทางที่
มีคนเห็น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมไม่เที่ยวแสดงตน
ไปในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะของเรา กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะ
ของเรา อย่างนี้ เขาย่อมเป็นบริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลมีตบะย่อมไม่เสพโทษอัน
ปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่
ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวโทษที่ควรว่าควร เขาเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่
ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือ

สาวกของพระตถาคตกำลังแสดงธรรมอยู่ ย่อมรู้ตามปริยายอันมีอยู่ที่ควรรู้
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ อย่างนี้ เขา
ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ไม่ดีเสมอ
ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน
ไม่ปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลบคลำทิฏฐิเอง ไม่เป็นผู้ถือมั่น
สละคืนได้ง่าย ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ง่าย อย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะเหล่านี้บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์
เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นหามิได้ ที่แท้เป็นกิริยาที่ถึง
สะเก็ดเท่านั้น.

กถาว่าด้วยการบรรลุธรรมเป็นสาระอันเลิศ



[26] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
การเกลียดบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึง
แก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.