เมนู

เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวช
แล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้น
แห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะว่าเมื่อก่อนข้าพเจ้า
ไม่ได้มีแล้ว (ไม่มีสัญญา) เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไปเพื่อความ
เป็นผู้สงบ. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ
ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ตอบอย่างนี้
ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะเราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และ
ไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน
ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.

กถาว่าด้วยสุภวิโมกข์



[17] ภัคควะ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวตู่เรา ซึ่งกล่าว
อยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็น
จริง พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์
อยู่. สมัยนั้น ย่อมทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. ภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าว
อย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวโมกข์อยู่. สมัยนั้น ย่อม
ทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระ
โยคาวจรย่อมเข้าสุกวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดแต่สิ่งที่ดีงามเท่า
นั้น. สละ ผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาค
และพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ

องค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดง
ธรรมให้ข้าพระองค์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่.
ภัคควะ การที่เธอผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจทาง
หนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่งไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มี
ลัทธิอาจารย์จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้เธอจงรักษา
ความเลื่อมใสในเราเท่าที่เธอมีอยู่ให้ดีก็พอ.
ปริพาชกชื่อ ภัคควะโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ถ้าว่าการที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไป
ทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ
ไม่มีลัทธิอาจารย์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากก็จริง ข้าพระองค์ก็
จะพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเท่าที่ ข้าพระองค์มีอยู่
ให้ดี.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปริพาชกชื่อ ภัคควะ-
โคตร
มีความยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้ มีพระภาคแล้วแล.
จบ ปาฏิกสูตรที่ 1

สุมังคลวิลาสินี



ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรควรรณนา



อรรถกถาปาฏิกสูตร



ปาฏิกสูตร

มีคำบาลีว่า เอวมฺเม สุตํ ฯ เป ฯ มลฺเลสุ วิหรติ.
ในปาฎิกสูตรนั้นจะได้อธิบายข้อความตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-
คำว่า มลฺเลสุ วิหรติ มีคำอธิบายดังนี้ แม้ชนะแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นถิ่นพำนักอาศัยของบรรดามัลลราชกุมาร ผู้มีนิวาสฐาน อยู่ในชนบท
ก็เรียกว่า มัลละ เพราะเพิ่มศัพท์เข้ามา (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่) ในชนบทแห่งหนึ่งนั้น ในบรรดามัลลชนบททั้งหลาย. คำว่า
อนุปฺปิยํ นาม มลฺลานํ นิคโม มีคำอธิบายดังนี้ มีนิคมชนบทของ
ชาวมัลละแห่งหนึ่งชื่อว่า อนุปิยะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ในราว
ป่าแห่งหนึ่งถือพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ อาศัยอนุปิยนิคมชนบทนั้นเป็น
โคจรคาม. บาลีบางแห่งเป็น "อโนปิยะ" ก็มี. บทว่า ปาวิสิ แปลว่า
ได้เสด็จเข้าไปแล้ว. อนึ่ง จะกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเสร็จ
สิ้นแล้วไม่ได้ ต้องกล่าวว่ายังต้องเสด็จเข้าไปอีก เพราะเหตุว่าแม้เสด็จ
ออกมาแล้ว ก็ยังทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้าไปอีก. มีอุปมาดังนี้.
เช่นชายคนหนึ่งออกจากบ้านประสงค์จะไปยังบ้านอีกแห่งหนึ่ง แม้จะเดิน
ทางยังไม่ถึงบ้านแห่งนั้น เมื่อมีคำถามว่า ชายคนนี้อยู่ที่ไหน ก็ต้อง
ตอบว่าเขาไปบ้านนั้นแล้ว ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็มีฉันนั้น.
คำว่า เอตทโหสิ พระราชดำรินี้ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อพระผู้มี
พระภาคประทับยืนอยู่ใกล้บ้านและทอดพระเนตรดวงอาทิตย์. คำว่า
อติปฺปโค โข แปลว่า ยังเช้ามืดเกินไป คนในตระกูลทั้งหลาย