เมนู

ชอบดังนี้. พวกเธอควรยินดี ควรอนุโมทนาภาษิตของพรหมจารีนั้นว่า
ดีแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็น
ลาภของเราทั้งหลาย พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราจักระลึกถึงท่านผู้มี
อายุ ผู้เป็นสพรหมจารี เช่นท่านผู้เข้าถึงอรรถเข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยการแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะ



[113] ดูก่อนจุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้ง
หลายที่เป็นไปในปัจจุบันแก่พวกเธอเท่านั้น ดูก่อนจุนทะ อนึ่งเราไม่
แสดงธรรม เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพเท่านั้น แต่
เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบันด้วย เพื่อกำจัด
อาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพด้วย. ดูก่อนจุนทะ เพราะฉะนั้น
แล เราอนุญาตจีวรแก่พวกเธอก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องบำบัดหนาว บำบัด
ร้อน บำบัดสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อ
เป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความละอายให้กำเริบ เราอนุญาตบิณฑบาต
แก่พวกเธอก็เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้ ให้กายเป็นไปได้ ให้ความ
ลำบากสงบ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทาเวทนา
เก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยประการดังนี้ ความเป็นไปแห่ง
ชีวิต ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่สบาย จักมีแก่เรา เราอนุญาต
เสนาสนะแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสแห่ง
เหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอัน-
ตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในการหลีกออกเร้นอยู่ เราอนุญาต
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่
อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลำบากอย่างนี้ ดังนี้.

[114] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตรเป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขดังนี้. ดูก่อนจุนทะ
พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดู
ดูก่อนผู้มีอายุ การประกอบตนให้ติดในความสุขเป็นไฉน เพราะการ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขมีมากมายหลายอย่าง ๆ กัน. ดูก่อน
จุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องอยู่ในความสุข 4 อย่างเหล่านี้ เป็น
ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความ
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน. 4 อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ คนพาลบางคนใน
โลกนี้ ฆ่าสัตว์ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตน
ให้ติดในความสุขข้อที่ 1 คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้า
ของไม่ได้ให้แล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ 2 คนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าว
คำเท็จแล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตน
ให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ 3 คนพาลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพรียบพร้อม
พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง 5 ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่
ในความสุข ข้อที่ 4. ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้คิดอยู่ในความ
สุข 4 ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ
หน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.

ว่าด้วยการประกอบตนให้ติดความสุข 4 อย่าง



[115] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็น
ผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข 4 อย่างเหล่านี้ ดังนี้.
พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่า
กล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเมื่อจะกล่าวชอบ
ไม่ควรกล่าวแก่พวกเธอหามิได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพึง
กล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นจริง หามิได้. ดูก่อนจุนทะ การ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข 4 ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว
เป็นไฉน ดูก่อนจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ 1 ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบ
ตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ 2 ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผุ้มีอุเบกขา มีสติ เป็นสุขอยู่ ข้อนี้เป็น
การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ 3 ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ใน
สุขข้อที่ 4.