เมนู

บุคคลกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนี้ว่า บุคคลเห็นอยู่เชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้
เห็นอะไรชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ด้วย
อาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี
แล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์ที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุ
ดังนี้แล พึงนำคำว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย. บุคคลเห็นอยู่ซึ่ง
พรหมจรรย์นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุนี้
แลพึงนำคำว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น เข้าไว้ในคำนั่น. บุคคลเห็นอยู่ซึ่ง
พรหมจรรย์อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมีดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล
บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละ เรียกว่า บุคคลเห็นอยู่
ชื่อว่าย่อมไม่เห็น. ดูก่อนจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวพรหมจรรย์
ที่สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง
ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิงเป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศไว้
ดีแล้วดังนี้.

ว่าด้วยอภิญญาเทสิตธรรม



[108] เพราะเหตุนี้แหละ ดูก่อนจุนทะ ควรที่บริษัททั้งหมด
พร้อมเพรียงกัน ประชุม รวบรวม ตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วย
พยัญชนะ ในธรรมที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์
นี้ พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์สุข แก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อน
จุนทะ ก็ธรรมทั้งหลาย ที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัท
ทั้งหมดพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะ
ด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์นี้พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว
ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอัน

มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นคือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน
4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8. ดูก่อน
จุนทะ ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง การที่บริษัททั้ง
หมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญ-
ชนะด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุทำให้พรหมจรรย์พึงตั้งอยู่ยืดยาว ตั้งมั่นอยู่
นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่
เทวดาเละมนุษย์ทั้งหลาย.
[109] ดูก่อนจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน
ชื่นบานกันไม่วิวาทกันศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งพึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้นจะพึงมีคำอย่างนี้ แก่เธอทั้ง
หลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านผู้นี้แล ถือเอาอรรถผิด และยกพยัญชนะ
ผิดดังนี้ เธอไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดี
ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
พยัญชนะเหล่านี้ หรือพยัญชนะเหล่านั้น ของอรรถนี้ เหล่าไหนจะ
สมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะทั้งหลายเหล่านี้ อย่าง
ไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
อายุ พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละ
ของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า พวกเธอไม่สมควรยินดี ไม่ควรรุกราน
สพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดีไม่รุกรานแล้วพวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น
แหละ รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น และพยัญชนะนั้น.

[110] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์ แม้อื่นอีก พึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวกเธอ
ว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถผิด ยกพยัญชนะทั้งหลายชอบดังนี้.
เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น. ครั้นไม่ยินดี
ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอพึงกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
อายุ อรรถนี้ หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควร
กว่ากัน. หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อรรถนี้แหละของพยัญ
ชนะเหล่านี้สมควรกว่า พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหม-
จารีนั้น ครั้นไม่ยกย่อง ไม่รุกรานแล้ว พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้นรู้
ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น.
[111] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวกเธอ
ว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลายผิดดังนี้.
พวกเธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น. พวกเธอ
ควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้
หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรแก่กัน. หากว่า
สพรหมจารีนั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้แล
สมควรกว่า. พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหมจารีนั้น.
พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้น.
[112] ดูก่อนจุนทะ หากสพรหมจารีสงฆ์ แม้อื่นอีก พึง
กล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวก
เธอว่า ท่านผู้มีอายุนี้แหละ ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลาย

ชอบดังนี้. พวกเธอควรยินดี ควรอนุโมทนาภาษิตของพรหมจารีนั้นว่า
ดีแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็น
ลาภของเราทั้งหลาย พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราจักระลึกถึงท่านผู้มี
อายุ ผู้เป็นสพรหมจารี เช่นท่านผู้เข้าถึงอรรถเข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยการแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะ



[113] ดูก่อนจุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้ง
หลายที่เป็นไปในปัจจุบันแก่พวกเธอเท่านั้น ดูก่อนจุนทะ อนึ่งเราไม่
แสดงธรรม เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพเท่านั้น แต่
เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบันด้วย เพื่อกำจัด
อาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพด้วย. ดูก่อนจุนทะ เพราะฉะนั้น
แล เราอนุญาตจีวรแก่พวกเธอก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องบำบัดหนาว บำบัด
ร้อน บำบัดสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อ
เป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความละอายให้กำเริบ เราอนุญาตบิณฑบาต
แก่พวกเธอก็เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้ ให้กายเป็นไปได้ ให้ความ
ลำบากสงบ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทาเวทนา
เก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยประการดังนี้ ความเป็นไปแห่ง
ชีวิต ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่สบาย จักมีแก่เรา เราอนุญาต
เสนาสนะแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสแห่ง
เหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอัน-
ตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในการหลีกออกเร้นอยู่ เราอนุญาต
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่
อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลำบากอย่างนี้ ดังนี้.